bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันพุธที่ ๖ พ.ย.๖๒ ข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับกรณีที่นายกรัฐมนตรีจีนเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ระหว่างวันที่ ๒ – ๕ พ.ย.๖๒) และได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (๑๐ + ๓) ครั้งที่ ๒๒ รวมทั้งเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอ

ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. ข้อคิดเห็นของ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ต่อการประชุมผู้นำอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (๑๐ + ๓) ครั้งที่ ๒๒ โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย เป็นประธานการประชุม
        ๑.๑ ยกระดับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจให้สูงยิ่งขึ้น ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership ซึ่งเกิดจากความพยายามร่วมกันของ ๑๕ ประเทศภาคีสมาชิกของ RCEP ที่เดิมมี ๑๖ ประเทศ แต่อินเดียประกาศขอถอนตัว) ซึ่งได้เสร็จสิ้นการเจรจาทางด้านเอกสารทั้งหมดและการเจรจาเกี่ยวกับมาตรฐานการเข้าร่วมตลาด ถือเป็นผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของการสร้างเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด สมาชิกมีความหลากหลายมากที่สุด และมีศักยภาพการพัฒนามากที่สุดของโลก ย่อมจะส่งเสริมกระบวนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างทรงพลัง ปกป้องการค้าเสรี เพิ่มพูนความเชื่อมั่นของตลาด บนพื้นฐานดังกล่าว โดยจีนยินดีเร่งกระบวนการเจรจาเขตการค้าเสรี จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ ให้เร็วยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายในด้านการสร้างประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก
        ๑.๒ สนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างกันในภูมิภาค ฝ่ายจีนสนับสนุน “แถลงการณ์ว่าด้วยข้อริเริ่มเกี่ยวกับการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน” เชื่อมโยงข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” กับข้อริเริ่มเกี่ยวกับการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันในภูมิภาคเข้าด้วยกัน
        ๑.๓ เสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาค ทุกฝ่ายควรปฎิบัติตามมติเอกสารวิสัยทัศน์ “ทิศทางยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางการเงินการคลัง ๑๐ + ๓” แสวงหาโครงสร้างที่สามารถกำกับดูแลเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วยดีผ่านความร่วมมือทางด้านการเงินการคลัง ตอบสนองความต้องการของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
        ๑.๔ ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายจีนยินดีที่จะร่วมมือกับทุกฝ่ายในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติในปี ๒๐๓๐ โดยแบ่งปันประสบการณ์การพัฒนากับทุกฝ่ายผ่าน “ข้อริเริ่มความร่วมมือว่าด้วยการขจัดความยากจนในเอเชียตะวันออก” นอกจากนี้ ฝ่ายจีนยินดีที่จะช่วยลดช่องว่างด้านการพัฒนาในภูมิภาคผ่านความร่วมมือกรอบลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง และกรอบความร่วมมือเขตการเติบโตจีนและภาคตะวันออกอาเซียน ตลอดจนกลไกความร่วมมืออนุภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาเชิงภูมิภาค ฝ่ายจีนสนับสนุนการจัดตั้งกลไกการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติ โดยฝ่ายจีนจะรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกในปีหน้า
        ๑.๕ ดำเนินการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง บริหารกองทุนความร่วมมือ ๑๐ + ๓ ให้เหมาะสม ดำเนินโครงการความร่วมมือประชานิยมให้มากยิ่งขึ้น โดยโครงการเครือข่ายเมืองวัฒนธรรม ๑๐ + ๓ ได้เริ่มขึ้นแล้วในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ฝ่ายจีนยินดีที่จะเปิดตัวเว็บไซต์ความร่วมมือ ๑๐ + ๓ และจะจัดงานสัมมนาความร่วมมือด้านสื่อสารมวลชน ๑๐ + ๓ ฟอรั่มยุววิทยาศาสตร์ ๑๐ + ๓ และกิจกรรมอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมความใกล้ชิดและความเข้าใจซึ่งกันและกันในหมู่ประชาชนบรรดาผู้นำที่ร่วมประชุมต่างได้แสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาคตามโครงการความร่วมมือ ๑๐ + ๓

๒. ท่าทีของจีนในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ ๑๔ ซึ่งมี ๑๐ ประเทศในอาเซียนกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุม หรือการประชุม ๑๐ + ๘ โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย เป็นประธานการประชุม ซึ่งจีนได้เห็นพ้องกับที่ประชุมฯ ที่เน้นถึงคุณค่าและการยกระดับที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่าควรดำเนินการในประเด็นต่างๆ ได้แก่
        (๑) การมีกลไกความร่วมมือที่มีคุณค่าและยกระดับสูงขึ้น
        (๒) มีการผสมผสานทางเศรษฐกิจของภูมิภาคที่มีคุณค่าและยกระดับสูงขึ้น
        (๓) มีการเชื่อมโยงและการติดต่อที่มีคุณค่าและยกระดับสูงขึ้น
        (๔) มีความร่วมมือทางนวัตกรรมที่มีคุณค่าและยกระดับสูงขึ้น
        (๕) มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและยกระดับสูงขึ้น
        (๖) การมี “แถลงการณ์ว่าด้วยปฏิบัติการฝ่ายต่าง ๆ ของทะเลจีนใต้” ที่มีคุณค่าและยกระดับสูงขึ้น

บทสรุป
ปัจจุบัน สถานการณ์ทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและสลับซับซ้อน เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ลัทธิกีดกันทางการค้านับวันมีมากขึ้น อันนำมาซึ่งความเสี่ยงและความท้าทายใหม่ ๆ ต่อการพัฒนาของประเทศเอเชียตะวันออก ดังนั้น จึงควรมีการเสริมสร้างความสามัคคีและความร่วมมือ ร่วมกันรับมือกับความเสี่ยงและความท้าทาย รวมทั้งเสริมสร้างพลังใหม่ ๆ เพื่อให้เศรษฐกิจในภูมิภาคและทั่วโลกสามารถเติบโตอย่างมั่นคง ในขณะที่จีนกับประเทศในอาเซียน ยังคงรักษาการติดต่อความร่วมมือที่ดีเกี่ยวกับปัญหาในทะเลจีนใต้ ภายใต้การชี้นำของ “แถลงการณ์ว่าด้วยปฏิบัติการของฝ่ายต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้” และการปรึกษาหารือของ “กฎเกณฑ์ว่าด้วยปฏิบัติการทะเลจีนใต้” ซึ่งได้กำหนดตารางเวลาและแผนการที่ชัดเจน เพื่อร่วมกันรักษาสันติภาพความมั่นคงของทะเลจีนใต้ และผลักดันสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ให้พัฒนาไปสู่ทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์
https://news.cgtn.com/news/2019-11-04/RCEP-negotiations-make-major-breakthrough-LljPb5cO5O/index.html

https://www.xinhuathai.com/high/E0%B8%A3_20191104

https://www.isranews.org/thaireform/thaireform-talk-interview/82168-asean-82168.html  

https://www.asean2019.go.th/th/news/22nd-asean-plus-three-apt-summit/

http://www.mfa.go.th/main/en/news3/6886/111040-22nd-ASEAN-Plus-Three-Summit.html

https://news.cgtn.com/news/2019-11-03/Premier-Li-China-will-stay-committed-to-supporting-ASEAN-and-RCEP-LjQOo5FwFa/index.html

http://en.people.cn/n3/2019/1105/c90000-9629403.html

http://thai.cri.cn/20191105/c84737ee-9c64-4e1f-46db-91034c0dc9e9.html

http://thai.cri.cn/20191104/d39aa7b7-a00e-d8c2-aa45-7dbd944153cf.html

http://thai.cri.cn/20191104/a32d3d5e-6f0f-849a-d8c6-a0b54fa7bb93.html