bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันศุกร์ที่ ๒๒ พ.ย.๖๒ กลไกความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน ตอนที่ ๓ กิจกรรมสนับสนุนความร่วมมือ

ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. เมื่อวันที่ ๑๗ ก.ค.๖๒ ได้มีการจัดฟอรั่มวัฒนธรรมชนเผ่าจีน - อาเซียนครั้งที่ ๔ ขึ้นที่เมืองกุ้ยหลิน เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (Guangxi Zhuang Autonomous Region) หรือเขตกวางสี ภายใต้หัวข้อ “ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและการพัฒนาร่วมกันของวัฒนธรรมจีน – อาเซียน” ซึ่งฟอรั่มนี้ได้ดึงดูด ๑๕๐ ประเทศรวมถึงจีน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย บรูไน อินเดียและญี่ปุ่น นักวิชาการและแขกจำนวนมากเข้าร่วม โดยนายหลิว อวิ๋นจง นักวิชาการจากศูนย์วิจัยการพัฒนาจีนของคณะรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า "ควรขยายการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับอาเซียน ขณะเดียวกันต้องเน้นการสร้างหนทางทางบกและทางทะเลเพื่อขยายระบบโลจิสติกส์ ซึ่งเขตกวางสีเป็นเขตที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ มีทรัพยากรทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ของตน มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการแลกเปลี่ยนกับประเทศอาเซียน ด้วยโอกาสใหม่จากการสร้างช่องทางใหม่ทางบกและทางทะเล และพร้อมไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างเขตกวางสีและอาเซียน ย่อมจะก่อให้เกิดความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

๒. เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๒ มณฑลกวางสี เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้จัดการประชุมด้านวัฒนธรรมจีน-อาเซียน ครั้งที่ ๑๔ "The 14 th China-Asean Cultural Forum" ระหว่าง วันที่ ๑๙ - ๒๑ ก.ย.๖๒ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสารเชิงลึกและการคิดเชิงปะทะสำหรับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างจีน - อาเซียน ระยะทางจิตวิญญาณสร้างสะพานเชื่อมโยงและร่วมกันสร้างมรดกทางวัฒนธรรมจีน – อาเซียนและฐานความร่วมมือการท่องเที่ยว “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ส่งเสริมการบูรณาการการพัฒนาทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน มีตัวแทนภาครัฐบาลทั้งจีน อีก ๕ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ เวียดนามและภาคเอกชน

๓. ความสำเร็จในการจัดนิทรรศการท่องเที่ยวในงานมหกรรมจีน-อาเซียน ที่จะจัดขึ้น ณ เมืองกุ้ยหลิน เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) ของจีน ในระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๐ ต.ค.๖๒ เป็นผลสืบเนื่องมาจากในระยะหลายปีที่ผ่านมานี้ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างจีนและอาเซียนมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศในกลุ่มอาเซียนกลายเป็นเป้าหมายการเดินทางท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีน สถิติจากทางการจีนระบุว่า ในปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) จีนและอาเซียนมีนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างกันมากกว่า ๕๗ ล้านคน โดยแต่ละสัปดาห์มีเที่ยวบินไปกลับระหว่างกันราว ๔,๐๐๐ เที่ยวบิน ซึ่งจีนเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังอาเซียนมากที่สุด นอกจากนี้ ในการจัดอันดับแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม ๑๐ แห่งในต่างประเทศของชาวจีน เมื่อปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) พบว่า มีจำนวนถึง ๗ แห่งอยู่ในอาเซียน

บทสรุป
ปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรม เกิดจากการที่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) เป็นเขตที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ มีทรัพยากรทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ รวมทั้งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการแลกเปลี่ยนกับประเทศในกลุ่มอาเซียน และเมื่อได้รับโอกาสใหม่จากการสร้างช่องทางใหม่ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการคมนาคมทั้งทางบกและทางทะเล อันสนับสนุนต่อการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมระหว่างจีน-อาเซียน ยังผลให้เกิดการการเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เกิดความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


ข้อมูลจากเว็บไซต์
https://www.matta.org.my/event/07119-invitation-to-participate-in-2019-china-asean-expo-tourism-exhibition

http://thai.cri.cn/20190816/41715b45-38da-a4e6-a0de-7c63e8e9bd4d.html

http://thai.cri.cn/20190811/571ee822-68e8-d096-7fbc-fa679884804d.html

http://thai.cri.cn/20190802/a821423a-7b1b-9b14-b1ad-5a322dcd3ca8.html

http://thai.cri.cn/20190801/4cfe3609-9714-f332-3fd0-a125772ad290.html

http://thai.cri.cn/20190801/2c84b102-305e-2e95-2f91-54f2f208613a.html

http://thai.cri.cn/20190801/e75acc5c-cf46-34db-ff88-fe2ed7ab6637.html

https://english.kyodonews.net/news/2019/08/a595858c0b1b-focus-china-rises-to-become-aseans-most-important-dialogue-partner.html