bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันศุกร์ที่ ๖ ก.ย.๖๒ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์: บทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน” (战略伙伴:中泰关系分析) (ตอนที่ ๑) โดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

โดยสรุปย่อประเด็นที่สำคัญ ได้ดังนี้

๑. ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์แบบทวิภาคีที่ยาวนานและมีพลวัตรของความร่วมมืออย่างกว้างขวาง อันมีพื้นฐาน มาจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่หยั่งลึกมาเป็นเวลายาวนานหลายศตวรรษ ตลอดจนมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้ชิดกัน แม้ว่าทั้งสองประเทศจะได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ก็ตาม รวมทั้งการที่รัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนได้มีเจตนารมณ์ในการทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุความมุ่งมั่นร่วมกันในการกินดีอยู่ดีและความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนทั้งสองประเทศ ตลอดจนส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาในภูมิภาค
中泰关系由来已久,且有着深远的合作动力与源泉,这得益于几个世纪以来两国悠久深厚的历史和文化,两国还地缘相近。双方于1975年7月1日正式建立外交关系,两国政府愿意不断加强合作,以实现两国人民幸福美好、兴旺发达的共同目标,推动地区和平、稳定和 展。

๒. แนวคิดเกี่ยวกับการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ 有关战略伙伴关系
แม้นโยบายความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของจีน จะมุ่งใช้เพื่อเป็นเครื่องมือทางการทูตแบบทวิภาคี เป็นหลักก็ตาม แต่ได้มีความพยายามผลักดันให้รวมถึงการดำเนินการในรูปแบบพหุภาคีด้วย อันจะเป็นการเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์และการสร้างสรรค์ต่อนโยบายความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ดังเช่น ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้มีการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (the Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ณ กรุงเทพมหานคร โดยประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้งสิบประเทศและจีน ได้ร่วมกันประกาศความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อสันติภาพและความมั่งคั่ง ซึ่งในปีเดียวกันนั้น จีนได้เข้าร่วมกับอาเซียนด้วยการรับรองสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation: TAC) ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย อันเป็นการเน้นย้ำถึงการปรึกษาหารือและการเจรจาต่อรองในภูมิภาค โดยไม่ใช้กำลังต่อกัน อาจกล่าวได้ว่า ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เป็นรูปแบบเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือ ทั้งทางด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และประเด็นที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค อันนำไปสู่การสนับสนุนต่อความเชื่อมั่นทางยุทธศาสตร์ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประชาชน ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรม และประเด็นปัญหาความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาค
尽管中国的战略伙伴政策主要用来作为一种双边外交手段,也积极运用于多边关系中,以增强战略伙伴政策的互动性和创造性。如在2003年曼谷举行的APEC会议中,东盟十国与中国发表共同声明建立战略伙伴关系,以维护和平与安全。同年,中国在印度尼西亚的巴厘市宣布与东盟合作,接受东南亚友好合作条约(TAC),强调地区协调对话,不相互诉诸武力。可以说,战略伙伴关系是强化政治、安全、经济、社会及地区相关问题合作的重要形式,有助于增强战略互信,推动务实合作,促进民间交流、文化交流和地区国际合作等。

๓. เป้าหมายทางยุทธศาสตร์战略目标
เพื่อส่งเสริมและเพิ่มพูนความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับจีน โดยทั้งสองฝ่ายยืนยันเจตนารมณ์ทางการเมืองในการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ และส่งเสริมความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในด้านต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในเอกสารแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างไทยกับจีน ที่ได้มีการลงนามเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ โดยทั้งสองประเทศ จะยึดมั่นในกรอบความตกลงและหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติห้าประการตามกฎบัตรของสหประชาชาติ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้ ประเทศไทยยึดมั่นในนโยบายจีนเดียวและสนับสนุนแนวทางการรวมประเทศอย่างสันติวิธีของจีน โดยจีนจะเคารพและสนับสนุนต่อบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย เพื่อการบรรลุเป้าหมายร่วมกันต่อเสถียรภาพทางการเมือง รวมทั้งการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งสองประเทศ
为增进中泰战略合作伙伴关系,双方按照2012年4月19日共同签署的中泰全面战略合作伙伴共同行动计划的文件规定,坚持发展战略合作伙伴关系的政治意愿,推动各方面的务实合作。双方坚持协议框架、和平共处五项原则、联合国宪章和共同利益的原则。泰国还坚持一个中国政策,支持中国的和平统一;中国尊重和支持泰国领土的完整,以实现双方政治稳定、经济繁荣、人民幸福的共同目标。

ขอนำเสนอตอนที่ ๒ วิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ (实现战略目标的方法和途径 ) ต่อในวันพรุ่งนี้