ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนายวัง เหวินปิน (汪文斌) โฆษกกระทรวงต่างประเทศ (外交部发言人) ของจีน ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ ๕ พ.ย.๖๓ว่า จีนได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" (“一带一路”) กับ ๑๓๘ ประเทศ และได้ร่วมกันดำเนินโครงการมากกว่า ๒,๐๐๐ โครงการ และได้แก้ไขปัญหาการหางานทำของคนได้หลายหมื่นคน (中方已同138个国家签署“一带一路”合作文件,共同展开了2000多个项目,解决了成千上万人的就业。) กล่าวคือ
๑. ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ยังได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะระดับสากล ที่ได้รับความนิยมและเป็นแพลตฟอร์มความร่วมมือที่ใหญ่ที่สุดมานานกว่า ๗ ปีแล้ว ทั้งนี้ โครงการนี้ มุ่งมั่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่นของประเทศต่างๆ มากขึ้น ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-๑๙ โดยโครงการใน "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หลายโครงการ มีส่วนในการส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น"
๒. จีนจะยังคงจับมือกับหุ้นส่วนความร่วมมือต่อไป ด้วยหลักการปรึกษาหารือ ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งผลประโยชน์กัน เปิดกว้าง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสุจริต มีมาตรฐานสูงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และสร้างความผาสุกแก่ประชาชน ซึ่งจีนจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศใน “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เพื่อสร้างประโยชน์ที่แท้จริงให้กับประชาชนและประเทศต่างๆ
๓. ข้อสังเกต ความเป็นมาของข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” จากแนวคิดของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ภายใต้ชื่อว่า “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ ๒๑” (“丝绸之路经济带和21世纪海上丝绸之路”) ซึ่งหากย้อนกลับไปในเดือนกันยายน ค.ศ.๒๐๑๓ (พ.ศ.๒๕๕๖) ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้เสนอข้อริเริ่มฯ ให้ร่วมมือกันสร้าง “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” (“丝绸之路经济带”) เป็นครั้งแรก ระหว่างการกล่าวปราศรัยที่ประเทศคาซักสถาน โดยเรียกร้องให้เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนด้านนโยบาย การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ความสะดวกทางการค้า การหมุนเวียนเงินตรา และความเข้าใจระหว่างประชาชน ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้กล่าวปราศรัยที่รัฐสภาอินโดนีเซียว่า ตั้งแต่โบราณกาลมา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชุมทางสำคัญของ “เส้นทางสายไหมทางทะเล” จีนยินดีเสริมสร้างความร่วมมือทางทะเลกับประเทศอาเซียน โดยใช้กองทุนความร่วมมือทางทะเลจีน-อาเซียนที่รัฐบาลจีนตั้งขึ้นให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือทางทะเลให้ดี เพื่อร่วมกันสร้าง “เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ ๒๑” (“21世纪海上丝绸之路”)
บทสรุป
โฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีน ได้เน้นย้ำว่า การร่วมสร้างสรรค์โครงการ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” โดยการยืนหยัดหลักการร่วมปรึกษาหารือ ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน อันจะสนับสนุนพหุภาคีนิยม ซึ่งความร่วมมือพหุภาคีย่อมสร้างคุณประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้นในการร่วมสร้างสรรค์ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือทุกฝ่ายในการต่อต้านโรคระบาด การส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ เพื่อผลักดันการปฏิบัติตามแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติปี ๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓) ให้เป็นจริง
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
https://www.sohu.com/a/429762249_115239
http://www.ce.cn/xwzx/gnsz/gdxw/202011/05/t20201105_35978058.shtml
https://tech.sina.com.cn/roll/2020-09-14/doc-iivhvpwy6691830.shtml