bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันอังคารที่ ๑๑ ส.ค.๖๓ : การเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติ (筑牢国家粮食安全) ของจีน

ขอนำเสนอข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติ (筑牢国家粮食安全) ของจีน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. สืบเนื่องมาจากการลงตรวจพื้นที่มณฑลจี๋หลินของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง (国家主席习近平) ในฐานะเลขาธิการ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (中共中央总书记) เมื่อช่วงปลายเดือน ก.ค.๖๓ ที่ผ่านมา โดยได้มอบภารกิจสำคัญให้กับมณฑลจี๋หลินในการรักษาเสถียรภาพด้านอาหารของชาติ (对吉林省扛稳国家粮食安全重任) กล่าวคือ  
     ๑.๑ ให้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างด้านอุปทานการเกษตรให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงการเกษตรและพื้นที่ชนบทให้ทันสมัยและต่อสู้กับความยากจน (深化农业供给侧结构性改革、农业农村现代化、脱贫攻坚、生态建设等工作作出重要指示。)  
     ๑.๒ ส่งเสริมความทันสมัยของการเกษตรและพื้นที่ชนบท (于推进农业农村现代) โดยยึดมั่นในลำดับความสำคัญของการพัฒนาการเกษตรและชนบท ด้วยการเร่งสร้าง "ระบบหลัก ๓ ระบบ" ของการเกษตรสมัยใหม่ รวมทั้งดำเนินการป้องกันดินดำในเชิงลึกและเร่งการสร้างพื้นที่เพาะปลูกที่มีมาตรฐานสูง ตลอดจนปรับปรุงกำลังการผลิตธัญพืชโดยรวม และสนับสนุนความแข็งแกร่งของมณฑลจี๋หลินในการปกป้องความมั่นคงด้านอาหารของชาติ (坚持农业农村优先发展,加快推进现代农业“三大体系”建设,深入开展黑土地保护行动,加快高标准农田建设,不断提升粮食综合生产能力,为维护国家粮食安全贡献吉林力量。)
     ๑.๓ ปัญหาของการเกษตรและเกษตรกรในชนบทเป็นปัญหาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศและการดำรงชีวิตของประชาชน (农业农村农民问题是关系国计民生的根本性问题) ดังนั้น จะต้องทำให้การแก้ไขปัญหา "สามชนบท" เป็นเรื่องสำคัญสูงสุดสำหรับงานของพรรคฯ โดย จำเป็นต้องกำหนดแนวนโยบายอย่างมั่นคงในการให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรและพื้นที่ชนบทให้ความสำคัญกับการจัดสรร "สามชนบท" ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจในการจัดสรรปัจจัยการพัฒนา "สามชนบท" ให้ความสำคัญกับการรับประกันการลงทุน "สามชนบท" และให้ความสำคัญกับการจัดบริการสาธารณะในชนบท (必须始终把解决好“三农”问题作为全党工作重中之重。要牢固树立农业农村优先发展政策导向,优先考虑“三农”干部配备,优先满足“三农”发展要素配置,优先保障“三农”资金投入,优先安排农村公共服务。) รวมทั้งต้องเข้าใจกฎหมายและข้อกำหนดของการพัฒนาการเกษตรและพื้นที่ชนบทที่มีลำดับความสำคัญอย่าง ตลอดจนคุณลักษณะที่หลากหลายของเกษตรกรและคุณค่าที่หลากหลายของพื้นที่ชนบท (要深入把握农业农村优先发展的规律和要求,准确理解“三农”工作的极端重要性,深化对农业多重功能、农民多重属性、农村多重价值的认知,更加重视“三农”领域的目标任务。)  
     ๑.๔ การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ จำเป็นต้องดำเนินการสร้าง "ระบบหลักสามระบบ" (“三大体系”) ของการเกษตรสมัยใหม่ โดยจำเป็นต้องพัฒนาการเกษตรดิจิทัลอย่างจริงจัง โดยมีการส่งเสริมการพัฒนาอย่างรวดเร็วของการเกษตรระยะยาว การเกษตรอัจฉริยะ และการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้ข้อมูลทางการเกษตรอย่างครอบคลุม โดยต้องส่งเสริมการบูรณาการการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด (要大力发展数字农业,推动远程农业、智慧农业、云农业快速发展,全面提升农业数字化、信息化、智慧化水平,促进农业与科技融合,推进农业科技创新,让农民用最好的技术种出最好的粮食。)  
     ๑.๕ ต้องส่งเสริมการพัฒนาแบบบูรณาการของอุตสาหกรรมหลัก ทุติยภูมิและตติยภูมิในพื้นที่ชนบท (要促进农村一二三产业融合发展) โดยสนับสนุนให้เกษตรกรหางานด้วยการเริ่มต้นธุรกิจและขยายช่องทางในการเพิ่มรายได้จากธุรกิจการเกษตรใหม่ๆ เช่น ฟาร์มครอบครัวและสหกรณ์เกษตรกร ฯลฯ โดยให้ท้องถิ่นสำรวจรูปแบบความร่วมมือแบบมืออาชีพ ที่มีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขของท้องถิ่น โดยสร้างรูปแบบองค์กรที่มีประสิทธิภาพสำหรับการพัฒนาการดำเนินงานตามขนาดที่เหมาะสมในการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ ( 支持和鼓励农民就业创业,拓宽增收渠道。要积极扶持家庭农场、农民合作社等新型农业经营主体,鼓励各地因地制宜探索不同的专业合作社模式,构建发展适度规模经营、发展现代农业的有效组织形式。) รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มทางการเกษตรเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ
 
๒. ความมั่นคงด้านอาหารเป็นรากฐานสำคัญของความมั่นคงของชาติ (粮食安全是国家安全的重要基础) นับตั้งแต่การประชุมแห่งชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ ๑๘ ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการผลิตธัญพืชและรับประกันความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งนี้ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหารของประเทศโดยการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้ดำเนินการบนเส้นทางสู่ความมั่นคงด้านอาหารที่มีลักษณะเฉพาะของจีน ทำให้ผลผลิตธัญพืชของประเทศเพิ่มขึ้นจาก ๖๑๒.๒๓ ล้านตัน (61223万吨) ในปี ๒๐๑๒ (พ.ศ.๒๕๕๕) เป็น ๖๖๓.๘๔ ล้านตัน (66384万吨) ในปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) และผลผลิตธัญพืชฤดูร้อนทั่วประเทศในปีนี้ สูงถึง ๒.๘๕๖ ล้านล้านกิโลกรัม (2856亿斤) ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ดังนั้น จึงทำให้จีนมีความมั่นใจอย่างเต็มที่ต่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ รวมทั้งมีความสามารถในการรักษาเสถียรภาพโดยรวมของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
 
บทสรุป

 
ปัญหาของการเกษตรและเกษตรกรในชนบทเป็นปัญหาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศและการดำรงชีวิตของประชาชน ดังนั้น ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จึงได้เน้นย้ำกับสมาชิกสหกรณ์ในมณฑลจี๋หลิน เมื่อช่วงบ่ายวันที่ ๒๒ ก.ค.๖๓ ให้เพิ่มศักยภาพทางการเกษตรและเพิ่มรายได้ของเกษตรกร โดยต้องผลักดันการเกษตรแบบใช้เครื่องจักรกลอัจฉริยะแทนที่การใช้แรงงานคน และเป็นการยกระดับการเกษตรที่ทันสมัย (农业现代化,需要插上科技的翅膀,也离不开生产经营模式的创新。) ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งเสริมความทันสมัยของการเกษตรและพื้นที่ชนบทโดยการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตธัญพืชและเป็นหลักประกันความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติของจีน
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
 
ข้อมูลจากเว็บไซต์