มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. ในรายงานข่าวกล่าวถึงแผนพัฒนาประเทศของจีน ฉบับที่ ๑๓ ที่มีชื่อว่า “Thirteenth Five-Year” National Informatization Plan ที่ได้มีการระบุถึงการนำ Blockchain มาใช้ในการปรับปรุงการทำงานของรัฐบาลจีน และเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จีนก็ได้ประกาศใช้ Blockchain ในการจัดเก็บภาษี และการออกเอกสารเรียกเก็บเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยข่าวนี้ทำให้วงการ Blockchain ทั่วโลกตื่นตัวเป็นอย่างมากเพราะกรณีนี้จะกลายเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาทางด้านการใช้ Blockchain ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกรณีหนึ่ง สำหรับการดำเนินการ โดย Miaocai Network ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ ก็ได้ออกมาประกาศถึงการเข้าร่วมกับ Government Affairs Chain หรือ GACHAIN เพื่อสร้างระบบเรียกเก็บภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์บน GACHAIN นี้ให้ตอบรับต่อความต้องการทางกฎหมาย รวมทั้งมีประสิทธิภาพสูงเพียงพอสำหรับรองรับภาคธุรกิจและประชากรในจีนได้ และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ อีกทั้งยังต้องรองรับ Workflow ของหน่วยงานอื่นๆ ทั้งหมดที่ต้องข้องเกี่ยวกับข้อมูลภาษีอีกด้วย
๒. บล็อกเชน (Blockchain) เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน ดังนั้น การเข้ามาของ Blockchain ก็อาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจร้านค้าต่างๆ สามารถเข้าระบบภาษีได้ง่ายขึ้นด้วยอีกทางหนึ่ง ซึ่งปริมาณธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน Platform เหล่านี้ก็นับว่ามีอยู่จำนวนมหาศาล
๓. ข้อสังเกต รัฐบาลจีนได้เริ่มตั้งนิคมอุตสาหกรรม ”China HangZhou Blockchain Industrial park” เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของบริษัททางด้าน Blockchain โดยเฉพาะ ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการลงทุนในหลายเมืองมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนเช่น Alibaba และ JD.com ก็ได้มีการนำเทคโนโลยีด้านนี้เข้ามาช่วยสำหรับการตรวจสอบการกระจายสินค้า การขนส่ง การหมดอายุของสินค้า และอื่นๆ ด้วย สำหรับในภาพรวม จีนมีการยื่นขอจดสิทธิบัตรมากกว่า ๒๘๔ รายการ จากในปี ๒๐๑๗ (พ.ศ.๒๕๖๐) เหนือกว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งขอยื่นจดที่ ๑๑๒ รายการ และทางด้าน Alibaba ยังขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรในด้านนี้สูงสุด มากกว่า ๙๐ รายการ แซงหน้า IBM ยักษ์ใหญ่ทางด้าน IT ของสหรัฐอเมริกาและของโลก ขณะที่กรุงปักกิ่ง ยังมีการลงทุนกับ Blockchain คือการตั้งกองทุน Beijing Blockchain Ecosystem Fund เป็นมูลค่ากว่า ๑,๐๐๐ ล้านหยวน เพื่อที่จะนำไปใช้กับอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ของประเทศต่อไป
บทสรุป
Blockchain ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับด้านระบบการเงินเท่านั้น แต่ยังมีการประยุกต์ใช้กับระบบอื่นๆ ด้วยตัวอย่างเช่น สามารถใช้เพื่อติดตามเส้นทางของการขนส่งสินค้า ทำให้สามารถทราบได้ทันทีว่า สินค้ารายการไหนกำลังถูกส่งออกมาจากคลังสินค้าที่ไหน ส่งให้ใคร แล้วยังตรวจสอบได้ว่า สินค้านั้นหมดอายุเมื่อใด ดังนั้นถ้ามีกรณีที่สินค้ามีปัญหา ก็สามารถสืบย้อนกลับไปได้ทันทีว่าติดขัดที่ตรงไหน อันจะช่วยลดปัญหาการรวมศูนย์จากส่วนกลาง รวมทั้งขจัดปัญหาด้านทรัพยากรและความไม่โปร่งใสได้ด้วย แต่ที่สำคัญคือ ข้อมูลที่อยู่ใน Blockchain ไม่สามารถลบออกไปได้ เพราะทุกคนมีข้อมูลนี้เหมือนกันหมด ถ้าจะลบก็ต้องตามลบทุกคนซึ่งทำไม่ได้อยู่แล้ว และยังสามารถติดตามการบันทึกข้อมูลย้อนหลังทั้งหมดได้ ซึ่งจะช่วยทำให้ธุรกิจและการดำเนินกิจการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นไปด้วยความโปร่งใสมากขึ้น
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
https://www.adpt.news/2017/08/07/china-will-use-blockchain-in-social-taxation/
https://www.weforum.org/agenda/2016/06/blockchain-explained-simply/