ผลงานการประชุมผู้นำจีน-ยุโรป ครั้งที่ ๒๑ ที่กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียม โดยที่ประชุมได้บรรลุความเข้าใจร่วมกันหลายประการ และก่อให้เกิดผลต่อการผลักดันให้จีนกับยุโรปส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เมื่อวันที่ ๙ เม.ย.๖๒ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน กับนายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และนายฌ็อง โคลด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ได้ร่วมกันเป็นประธานการประชุมผู้นำจีน–สหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๑ โดยมีผู้แทนจากวงการต่างๆ ของยุโรปได้ชื่นชมผลงานการประชุมครั้งนี้ กล่าวคือ
๑.๑ นายเดวิต กอสเซท (David Gosset) ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาจีนและปัญหาระหว่างประเทศของฝรั่งเศสกล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างจีนกับยุโรปเป็นปัจจัยที่ขาดเสียมิได้ในการส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของโลก และในการประชุมผู้นำจีน-ยุโรปครั้งนี้ มีส่วนช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างจีนกับยุโรป ส่งเสริมการค้าและการลงทุนร่วมกันเพื่อรักษาระบบสากลที่ถือสหประชาชาติเป็นส่วนสำคัญ
๑.๒ นายมาร์ติน อัลโบรว์ (Martin Albrow) นักสังคมศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและหนึ่งในผู้ริเริ่มแนวคิด “โลกาภิวัตต์” ได้กล่าวว่า เมื่ออยู่ในโลกที่มีความหลากหลายทางมูลค่าและอารยธรรม จีนกับยุโรปต่างต้องก้าวข้ามข้อแตกต่าง เพิ่มพูนความไว้วางใจและเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้น และส่งเสริมความร่วมมือโดยใช้ “เป้าหมายเดียวกัน” เพื่อบรรลุการได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ตามกรอบข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative: BRI) ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีที่จีนกับยุโรปร่วมกันแสวงหาสันติภาพ รวมทั้งการพัฒนาและความมั่นคงซึ่งเป็นเป้าหมายเดียวกัน
๒. ข้อสังเกต จากการประชุมผู้นำจีน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๐ ที่กรุงปักกิ่ง ในปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) ซึ่งเป็นกลไกเจรจาทางการเมืองสูงสุดระหว่างจีนและสหภาพยุโรป โดยจีนและสหภาพยุโรปได้เฉลิมฉลองการจัดตั้งกลไกดังกล่าวครบ ๒๐ ปี ดังนั้น ในการประชุมฯ ครั้งที่ ๒๑ ในปีนี้ จึงเป็นการสานต่อกลไกดังกล่าว โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องว่า จะต้องจับมือร่วมกัน เพื่อขยายผลประโยชน์ให้กว้างยิ่งขึ้น ตลอดจนปฏิบัติตามผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายต่อไป ซึ่งถือเป็นข่าวดีและเป็นการให้กำลังใจต่อกัน ภายใต้สถานการณ์ระหว่างประเทศที่กำลังทวีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
บทสรุป
การพบปะเจรจาหารือกันระหว่างผู้นำจีน-ยุโรป ในครั้งนี้จะเป็นการเติมพลังใหม่ๆ ให้กับความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างจีนกับยุโรป รวมทั้งได้ผลักดันความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างจีนกับยุโรปให้ก้าวสู่ขั้นใหม่ โดยเฉพาะในระหว่างการประชุมฯ ซึ่งผู้นำทั้งสองฝ่ายได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับยุโรป รวมทั้งปัญหาสำคัญระหว่างประเทศและภูมิภาคอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะการยกระดับยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่จะเอื้ออำนวยผลประโยชน์แก่กันให้สูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ก่อให้เกิดการกระตุ้นและผลักดันโอกาสใหม่ๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หรือ BRI เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ประมวลโดย : พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://thai.cri.cn/20190411/bae53500-1cb7-8248-acf8-fc6835fd99c8.html
http://thai.cri.cn/20190410/a14d384d-7d0d-a1c3-6835-acfda1be2a65.html
http://thai.cri.cn/20190407/cee1ba43-8421-e9b8-9c28-31a15bbbcfc0.html
http://www.xinhuanet.com/english/2019-04/09/c_137963348.htm