bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันอังคารที่ ๒๓ เม.ย.๖๒ : “อี-คอมเมิร์ซ เส้นทางสายไหม” กำลังจะเป็นช่องทางใหม่แห่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับต่างประเทศ

“อี-คอมเมิร์ซ เส้นทางสายไหม” กำลังจะเป็นช่องทางใหม่แห่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับต่างประเทศ โดยมีการจัดตั้งกลไกความร่วมมืออี-คอมเมิร์ซทวิภาคี ภายใต้กลไกพหุภาคี ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. เมื่อวันที่ ๑๘ เม.ย.๖๒ นายเกา เฟิง โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน ได้แถลงว่า ช่วงเวลากว่า ๕ ปีที่ผ่านมา การซื้อขายสินค้าระหว่างจีนกับประเทศรายทาง “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”(Belt and Road Initiative: BRI) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีการสร้างสรรค์รูปแบบการค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ "อี-คอมเมิร์ซ เส้นทางสายไหม” กำลังจะเป็นช่องทางใหม่แห่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับต่างประเทศอีกอย่างน้อย ๑๗ ประเทศ โดยการจัดตั้งกลไกความร่วมมืออี-คอมเมิร์ซทวิภาคี ภายใต้กลไกพหุภาคี เช่น กลุ่มบริกส์ (BRICS) ที่มีการลงนามเอกสารความร่วมมือด้านอี-คอมเมิร์ซ โดยเชื่อมโยงผู้ประกอบการเข้าด้วยกันและสามารถสร้างแบรนด์ได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกัน อี-คอมเมิร์ซข้ามแดนรวมไปถึงธุรกรรมรูปแบบใหม่จะเป็นพลังขับเคลื่อนสภาพคล่องทางการค้าใน “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”

๒. ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ ๑๐ เม.ย.๖๒ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจการเงินแห่งแรก (CBN Data) มีการออกเอกสารปกขาว (White Paper) ปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) เกี่ยวกับแนวโน้มและโอกาสการส่งออกอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของจีน โดยระบุว่า ตลาดอี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของจีนกำลังสร้างศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ ภายใต้การรวมกลุ่มอย่างลึกซึ้งของทางเศรษฐกิจและการค้าโลก การออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลกและอีคอมเมิร์ซได้กลายเป็นแนวโน้มที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนใหญ่แสดงอยู่ใน ๓ คุณลักษณะ ได้แก่ (๑) เป็นช่องทางที่สะดวก โดยการออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลก ได้ช่วยลดการเชื่อมต่อของการหมุนเวียนแหล่งสินค้าทั่วโลก และประสบความสำเร็จในการเปิดการขนส่งและการชำระเงินระหว่างประเทศ (๒) ผลิตภัณฑ์มีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยการออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลก ช่วยทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายขึ้น รวมทั้งจีนประสบความสำเร็จในการจัดหาสินค้าทั่วโลกผ่านอี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และ (๓) ราคาสินค้าสูงขึ้น โดยการค้าผ่านอีคอมเมิร์ซช่วยลดห่วงโซ่การหมุนเวียนทั้งหมดลดค่าใช้จ่ายขายปลีก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยข้อมูลออนไลน์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น

บทสรุป

อาจกล่าวได้ว่า อี-คอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของจีนได้กลายเป็นพลังงานจลน์ใหม่สำหรับการค้าระหว่างประเทศ และจีนเป็นผู้ผลิตเพื่อเชื่อมโยงผู้บริโภคทั่วโลก ในขณะที่อี-คอมเมิร์ซมีความสำคัญต่อบทบาทขององค์การการค้าโลก (WTO) ในการจัดการเจรจา เพื่อเสริมความมั่นใจของทุกฝ่ายต่อระบบการค้าพหุภาคี และกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ

ประมวลโดย : พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์

https://news.cgtn.com/news/3d3d774e7a45544d34457a6333566d54/index.html 

http://thai.cri.cn/20190419/a86be467-c6bb-aa05-59d3-2fc86b188a26.html 

http://thai.cri.cn/20190416/b350a335-e4ea-750f-18ad-818ebd41b5e6.html 

http://thai.cri.cn/20190126/6ff11034-ca7c-aad3-d10b-b381bef8d72e.html 

http://thai.cri.cn/20190222/4723fb98-e09d-28dd-2f1a-5f82b54aaca8.html 

https://www.beltandroad.news/2019/04/20/belt-road-countries-trade-exceeds-6-trillion-from-2013-to-2018/