จีนศึกษา วันอังคารที่ ๓๑ ธ.ค.๖๒ ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความร่
๑. เมื่อวันที่ ๒๖ ธ.ค.๖๒ ดร.สมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น , นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการกลุ่มมิตรผล , Mr.Qiu Zhenlin President of Guangxi Vocational & Technical Institute of Industry , นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา และดร.วัชรินทร์ ศิริพานิช ที่ปรึกษา บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ได้ร่วมพิธีเปิดป้ายความร่วมมื อวิทยาลัยอุตสาหกรรมน้ำ ตาลนานาชาติบนเส้นทางสายไหม (Silk Road International College of Sugar Industry) ที่โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เพื่อยกระดับคุณภาพของคนในอุ ตสาหกรรมเกษตรของมิตรผล และประเทศไทย ตลอดจนพัฒนาการศึกษาในเรื่ องเกษตรอุตสาหกรรม ตามนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และสอดคล้องนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative: BRI) ของประเทศจีน
๒. ปัจจุบัน นวัตกรรมชองประเทศจีนได้ก้าวหน้ าไปมาก และเป็นระบบเปิด จึงนับเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ วิทยากรและเทคโนโลยีต่างๆ ดังนั้น กลุ่มมิตรผล ในฐานะผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุ รกิจอย่างต่อเนื่อง โดยได้กำหนดกรอบความร่วมมื อในการพัฒนาบุคลากรของอุ ตสาหกรรมเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ให้เป็นไปตามนโยบายของประเทศ รวมถึงสนับสนุนนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ของประเทศจีน จึงเป็นที่มาความร่วมมือกับ Guangxi Vocational & Technical Institute of Industry ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากรในอุ ตสาหกรรมเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพของลุ่มมิ ตรผล ร่วมกันพัฒนาคุณภาพของนักศึ กษาที่จะเข้าร่วมงานกับกลุ่มมิ ตรผล รวมถึงองค์กรอื่นๆ ในประเทศไทยให้มีความรู้ ความสามารถ ตรงตามที่ต้องการ หลังจากจบการศึกษา ร่วมกันพัฒนาระบบอาชีวศึ กษาของประเทศไทย ด้วยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้ านการเรียนการสอนระหว่างวิทยาลั ย
๓. ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ ๒๘ พ.ย.๖๒ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเลขานุการ APTERR (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve : APTERR) และสำนักงานเลขานุการระบบข้อมู ลสารสนเทศความมั่ นคงทางอาหารในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Food Security Information System Project : AFSIS) ได้ให้การต้อนรับ นายฉู่ ซื่อเว่ย Chief Economist จากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตร สาธารณรัฐประชาชนจีน (Chinese Academy of Agricultural Sciences : CAAS) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิ ดชอบการจัดทำ Big Data ด้านการเกษตรของ จีน และนายธรากร อังภูเบศวร์ CEO ตลาดไท พร้อมคณะ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดเก็ บข้อมูลเศรษฐกิ จการเกษตรและการพัฒนาฐานข้อมู ลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ด้านการเกษตรของไทยและ จีน ตลอดจนแนวทางร่วมมือระหว่ างอาเซียนและจีน ในการพัฒนาประสิทธิภาพข้อมูล และความมั่นคงด้านอาหารร่วมกัน
๔. ข้อสังเกต จากการที่รัฐบาลจีนได้ดำเนิ นการก่อตั้งโรงเรียนคุณภาพ ๑๐๐ แห่ง เพื่อผลิตผู้มีความรู้ ความสามารถทางด้ านการเกษตรและการฟื้นฟูชนบท ซึ่งโรงเรียนที่ก่อตั้งขึ้นมานี้ จะมีทั้งที่เป็นวิทยาลัยอาชีวศึ กษาด้านการเกษตร โรงเรียนวิทยุและโทรทัศน์ การเกษตร รวมทั้งศูนย์อาชีวศึกษาระดั บอำเภอ โดยมีเกษตรกรราว ๓๕,๐๐๐ คน รวมถึงสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) ระดับหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่ บ้านมากกว่า ๖,๐๐๐ คน ได้สมัครเข้าเรียนในวิทยาลั ยอาชีวศึกษาที่เกี่ยวข้องกั บการเกษตร ทั้งนี้ รัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมายฝึ กอบรมให้เป็นเกษตรกรมีความรู้ ความสามารถที่ได้รับการศึ กษาระดับอาชีวะและรู้จักบุกเบิ กตลาดจำนวน ๑ ล้านคน ภายในเวลา ๕ ปี เพื่อส่งเสริมการพั ฒนาเกษตรกรรมและพื้นที่ชนบท รวมถึงชี้นำการเพิ่มรายได้ ของเพื่อนร่วมอาชีพด้วย เพื่อให้บรรลุผลตามแนวทางการพั ฒนาเกษตรกรที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ ๕ ด้าน ได้แก่ (๑) เร่งพัฒนาความทันสมั ยทางการเกษตรและการเปลี่ยนรู ปแบบการพัฒนาทางการเกษตร (๒) เพิ่มรายได้เกษตรกรและสร้ างแรงจูงใจในการเพิ่มสิทธิ ประโยชน์แก่เกษตรกร (๓) ส่งเสริมการพัฒนาชนบทให้มี ความทันสมัย (๔) เพิ่มกิจกรรมการพั ฒนาชนบทและการปฏิรูปอย่างเข้มข้ น (๕) สร้างความเข้มแข็งด้านกฎหมาย
บทสรุป
๒. ปัจจุบัน นวัตกรรมชองประเทศจีนได้ก้าวหน้
๓. ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ ๒๘ พ.ย.๖๒ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเลขานุการ APTERR (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve : APTERR) และสำนักงานเลขานุการระบบข้อมู
๔. ข้อสังเกต จากการที่รัฐบาลจีนได้ดำเนิ
บทสรุป
แนวทางความร่วมมือในการพัฒนาบุ คลากรของกลุ่มมิตรผล โดยได้มีการจัดทำโปรแกรมการพั ฒนาพนักงาน (หลักสูตรระยะสั้น) และส่งพนักงานไปเรียนที่ Guangxi Vocational & Technical Institute of Industry เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ของผู้เชี่ยวชาญ, การให้ทุนการศึกษาต่อเนื่อง ในระดับ ปวส. ตลอดจนให้ทุนบุตรพนักงาน ลูกหลานชาวไร่ เพื่อไปเรียนยังสถาบันดังกล่ าวด้วยนั้น ซึ่งในอนาคตจะมีแผนพั ฒนาระบบอาชีวศึกษาของไทยและจีน เพื่อนำแนวทางมาขยายผลในการพั ฒนาระบบการเรียนการสอนของอาชี วศึกษาในประเทศไทย และจะมีการจัดตั้งวิทยาลัยต้ นแบบ Sugar Production (สอนตามกระบวนการผลิตน้ำตาล แทนการสอนตามสาขาแบบเดิม) ต่อไป นอกจากนี้ การที่ฝ่ายจีน ได้นำเสนอถึงแนวนโยบายของรั ฐบาลจีน ในการพัฒนา Big Data ด้านการเกษตร โดยการรวบรวมข้อมูลแต่ละประเภท และการใช้แอพลิเคชั่ นในการรายงาน การพยากรณ์ และการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยที่ จะสามารถนำมาปรับใช้เป็ นแนวทางในการพัฒนา Big Data ด้านการเกษตรให้เหมาะสมกั บการผลิตของประเทศ
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์