๑. การขยายอุปสงค์ภายในประเทศเป็นแกนหลักของวงจรภายในประเทศ (扩大内需是以国内大循环为主体的核心要义)
๑.๑ นับตั้งแต่การปฏิรูปและการเปิดประเทศของจีน ได้ค่อยๆ พัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการส่งออกโดยอาศัยประสบการณ์ความสำเร็จของญี่ปุ่นและ "มังกรน้อยสี่ตัว" ในเอเชีย (改革开放以来,我国借鉴日本和亚洲“四小龙”经济腾飞的成功经验,逐步确立了出口导向型经济发展战略。) อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ๑๙๙๗ (พ.ศ.๒๕๔๐) ที่เกิดวิกฤตการณ์ค่าเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้นำไปสู่วิกฤตการเงินในเอเชีย ซึ่งได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน ดังนั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ปี ๑๙๙๘ (พ.ศ.๒๕๔๑) ได้มีความเห็นของคณะกรรมการการวางแผนของรัฐ เสนอให้ใช้นโยบาย "การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ" (“扩大国内需求”) จากการดำเนินเศรษฐกิจในประเทศของจีนเอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการดึงศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ของตลาดในประเทศ
๑.๒ เมื่อผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียเริ่มคลี่คลายอุปสงค์จากต่างประเทศในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนก็ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น ตั้งแต่ปี ๒๐๐๓ - ๒๐๐๘ (พ.ศ.๒๕๔๖ – ๒๕๕๑) การพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศของจีนสูงกว่า ๕๐% และดุลการค้าระหว่างประเทศในปี ๒๐๐๖ - ๒๐๐๘ (พ.ศ.๒๕๔๙ – ๒๕๕๑) เกินกว่า ๖% ของ GDP โดยเมื่อสิ้นปี ๒๐๐๖ (พ.ศ.๒๕๔๙) ที่ประชุมเศรษฐกิจกลางได้ชี้ให้เห็นว่า ความขัดแย้งหลักในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของจีนได้เปลี่ยนไปจากการขาดแคลนการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในอดีต กลายเป็นดุลการค้าที่มากเกินไปและการเติบโตอย่างรวดเร็วของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ซึ่งที่ประชุมยังชี้ให้เห็นว่า เพื่อรักษาเสถียรภาพการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ต้องจัดการความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนและการบริโภคอุปสงค์ภายในประเทศรวมทั้งอุปสงค์ภายนอกอย่างถูกต้อง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการขยายความต้องการผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งจุดเน้นของงานในปัจจุบันคือการปรับการลงทุน
๑.๓ การประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ ๑๘ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี ๒๐๑๒ (พ.ศ.๒๕๕๕) เสนอให้ส่งเสริมการปรับโครงสร้างเชิงยุทธศาสตร์ของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการขยายความต้องการภายในประเทศและเร่งสร้างกลไกระยะยาวเพื่อขยายอุปสงค์ของผู้บริโภค ซึ่งแม้ว่าการประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ ๑๙ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ได้กล่าวถึงแนวคิดของการขยายความต้องการภายในประเทศ แต่เมื่อปลายปี ๒๐๑๗ (พ.ศ.๒๕๖๐) เสนอให้ปรับปรุงระบบและกลไกในการส่งเสริมการบริโภค และการเสริมความแข็งแกร่งของการบริโภคในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๑ และ พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ประชุมเศรษฐกิจกลางยังคงดำเนินการในลักษณะดังกล่าวอยู่ต่อไป และจากรายงานของรัฐบาลในปีนี้ เสนอที่จะใช้ยุทธศาสตร์การขยายอุปสงค์ภายในประเทศอย่างมั่นคง (今年政府工作报告提出,要坚定实施扩大内需战略。) โดยใช้หลักการ "หกรับประกัน" (“六保”)
๒. การดำเนินยุทธศาสตร์ "รอบสอง" ที่มีความสำคัญในทางปฏิบัติ (“双循环”战略具有重大的现实意义)
๒.๑ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ยังคงซับซ้อนและรุนแรงด้วยความไม่แน่นอนกลายเป็นสงครามที่ยืดเยื้อ ซึ่งได้เร่งก่อให้เกิดรูปแบบการพัฒนาใหม่ที่ตัวหลักและวงจรคู่ในประเทศรวมทั้งต่างประเทศส่งเสริมซึ่งกันและกัน (加快形成以国内大循环为主体、国内国际双循环相互促进的新发展格局。) ภายใต้ยุทธศาสตร์ระยะกลางถึงระยะยาว จึงควรรวมอยู่ใน "แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔" และแผนระยะยาวปี ๒๐๓๕ (พ.ศ.๒๕๗๘) ซึ่งปัจจุบัน จีนได้เริ่มต้นรูปแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจภายในและภายนอกที่สมดุล โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ จีนประสบความสำเร็จในการวางแผนป้องกันและควบคุมโรคระบาด รวมทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองดีกว่าที่คาดการณ์ไว้อย่างมาก
๒.๒ การใช้วงจรภายในประเทศเป็นตัวหลักคือ การให้ประโยชน์อย่างเต็มที่กับการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในท้องถิ่นซึ่งบรรลุผลเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และใช้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมภายในประเทศที่สมบูรณ์และศักยภาพของตลาดในวงกว้าง ทำให้จีนเป็นประเทศแรกที่ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และเมื่อวันที่ ๒๓ พ.ค.๖๓ เลขาธิการคณะกรรมการกลางของพรรคฯ ได้ชี้ให้เห็นว่าการตอบสนองความต้องการภายในประเทศควรเป็นจุดเริ่มต้นและเป้าหมายของการพัฒนา โดยเร่งสร้างระบบอุปสงค์ภายในประเทศที่สมบูรณ์ รวมทั้งส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีและเร่งความก้าวหน้าของดิจิทัล อุตสาหกรรมเกิดใหม่ โดยมุ่งมั่นที่จะเปิดการผลิต การกระจายการไหลเวียนและการบริโภค ซึ่งจะช่วยเร่งการสร้างตลาดแห่งชาติแบบครบวงจร ตลอดจนสร้างวงจรของการส่งเสริมการลงทุนในประเทศและการบริโภคที่มีประสิทธิภาพ
บทสรุป
จีนมีแนวคิดในการใช้วงจรภายในประเทศเป็นตัวหลัก และขยายอุปสงค์ภายในประเทศเป็นพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ (以国内大循环为主体,以扩大内需为战略基点 。) รวมทั้งการเปิดประเทศสู่ภายนอก โดยส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ "ออกไปข้างนอก" ในขณะที่ "นำเข้า" รวมทั้ง "ขยายการนำเข้า" ในขณะที่ "รักษาเสถียรภาพการส่งออก" และสร้าง "โรงงานโลก + ตลาดโลกของจีน" (要继续推进贸易投资自由化便利化,不断优化营商环境,在“引进来”的同时“走出去”,在“稳出口”的同时“扩进口”,打造中国“世界工厂+世界市场”) นอกจากนี้ ต้องสร้างความมั่นคงพื้นฐานของการค้าต่างประเทศและการลงทุนต่างประเทศ รวมทั้งปรับปรุงเสถียรภาพและความสามารถในการแข่งขันของห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมของจีน โดยส่งเสริมการปฏิรูปและการเปิดทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมกัน เพื่อสนับสนุน“ การไหลเวียนด้านนอก” กับ“ การไหลเวียนภายใน” และผลักดัน“ การไหลเวียนภายใน” ด้วย“ การไหลเวียนด้านนอก” (稳住外贸外资基本盘,提高中国产业链供应链的稳定性和竞争力。此外,通过国内国际“双循环”,推动改革与开放相互促进,以“内循环”支撑“外循环”,以“外循环”带动“内循环”。)
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
https://www.yicai.com/news/100720801.html
http://opinion.hexun.com/2020-08-03/201804904.html
http://finance.sina.com.cn/zl/china/2020-08-03/zl-iivhuipn6486970.shtml