ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาการเกษตรและชนบทตาม "แผนห้าปีฉบับที่ ๑๓" ของจีน สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี (“十三五”规划的农业农村发展目标胜利完成) ทำให้เกษตรกรจีนมีรายได้เพิ่ม ๑.๖% ในช่วงสามไตรมาสของปีนี้ (前三季度农民收入增长1.6%) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจกล่าวคือ
๑. สำนักงานสารนิเทศแห่งคณะรัฐมนตรี (国务院新闻办举行) ของจีนได้จัดงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ ๒๗ ต.ค.๖๓ โดยนายหลิว ฮ่วนซิน (刘焕鑫) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและชนบท (农业农村部副部长) ได้กล่าวถึงความสำเร็จด้านการพัฒนาภาคการเกษตรและพื้นที่ชนบทในช่วง “แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๓” (“十三五”) ในระหว่างปี ๒๐๑๖ – ๒๐๒๐ หรือ พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๓ ว่า
๑.๑ ทำให้การพัฒนาภาคการเกษตรและพื้นที่ชนบทประสบความสำเร็จครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ โดยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเกษตรและชนบทตามที่กำหนดไว้ ซึ่งถือเป็นหลักประกันที่มั่นคงในการหลุดพ้นจากความยากจนและสร้างสังคมพอกินพอใจอย่างรอบด้าน อันเป็นการช่วงชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างมั่นคง ตลอดจนรับมือกับความเสี่ยงและความท้าทายทั้งในและต่างประเทศ
๑.๒ การบริโภคของชาวจีนจำนวน ๑,๔๐๐ ล้านคน มีความมั่นคงและภาคการเกษตรมีความทันสมัยมากขึ้น โดยได้ดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องอาหารและการรับประกันสินค้าเกษตรที่สำคัญอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการดำเนินการเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร ได้มีปริมาณอาหารเฉลี่ยต่อหัวมากกว่า ๔๗๐ กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานในระดับสากลที่กำหนดไว้เพียง ๔๐๐ กิโลกรัม นอกจากนี้ ในปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) ประชากรในเขตชนบทมีรายได้เฉลี่ยเกิน ๑๖,๐๐๐ หยวนต่อคน ทำให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรก่อนระยะเวลาที่กำหนดถึง ๑ เท่าตัว และทำให้โครงการหลุดพ้นจากความยากจนได้ประสบความสำเร็จ รวมทั้งถือเป็นการเริ่มต้นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองในพื้นที่ชนบท และการปฏิรูปชนบทที่ลงลึกอย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น (农村改革全面深化) ทั้งนี้ ในช่วงสามไตรมาสที่ผ่านมาของปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) ประชากรในเขตชนบทของจีนมีรายได้เฉลี่ย ๑๒,๒๙๗ หยวนต่อคน ซึ่งเพิ่มขึ้น ๑.๖% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่
๑.๓ ช่องว่างรายได้ประชากรระหว่างเมืองกับชนบทลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดจาก ๒.๗๓ ต่อ ๑ ในปี ๒๐๑๕ (พ.ศ.๒๕๕๘) เหลือ ๒.๖๔ ต่อ ๑ ในปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) โดยการพัฒนาธุรกิจต่างๆ ได้ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและทำให้หลุดพ้นจากความยากจนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ จนถึงปลายปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) ประชากรที่ยากจนในพื้นที่ที่ยากจนทั้งหมด ๘๓๒ แห่ง จะหลุดพ้นจากความยากจน ซึ่งปัจจุบัน นโยบายขจัดความยากจนได้ครอบคลุมครอบครัวที่ยากจนถึง ๙๘% โดยได้มีการดำเนินโครงการช่วยเหลือผู้ยากจนกว่า ๑ ล้านโครงการ และมีการจัดตั้งแหล่งธุรกิจที่ช่วยเหลือผู้ยากจนกว่า ๓ แสนแห่ง
๒. ข้อสังเกตเกี่ยวกับรูปธรรมจากการดำเนินการในช่วง “แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๓” (“十三五”) ซึ่งพบว่า
๒.๑ กระทรวงเกษตรและชนบทของจีน ได้ดำเนินการตามแผนการเพาะปลูกในฟาร์มครอบครัวและการส่งเสริมมาตรฐานสหกรณ์เกษตรกร โดยมีฟาร์มครอบครัวมากกว่า ๑ ล้านฟาร์ม และมีสหกรณ์เกษตรกรมากกว่า ๒.๒ ล้านแห่งทั่วประเทศ ซึ่งสามารถสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการบริการที่มีประสิทธิผลทางการเกษตร และมีองค์กรที่ให้บริการด้านการผลิตทางการเกษตรอย่างมืออาชีพถึง ๔๔๐,๐๐๐ แห่ง อันส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยได้รับการผลักดันให้เข้าสู่การติดตามความทันสมัยทางการเกษตร และถือเป็นการเริ่มดำเนินการในขั้นต้นของเส้นทางแห่งความทันสมัยทางการเกษตรที่มีลักษณะเฉพาะของจีน
๒.๒ มีการปฏิรูปชนบทที่ครอบคลุมและลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการปฏิรูประบบที่ดินในชนบท ได้มีการขึ้นทะเบียนและการรับรองสิทธิในที่ดินที่ทำสัญญาเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งระบบ "การแยกสิทธิสามสิทธิ" (“三权分置” ) ได้เริ่มต้นขึ้นหลังจากสัญญาที่ดินรอบที่สองสิ้นสุดลง โดยมีการขยายเวลาออกไปอีก ๓๐ ปี ทำให้เกษตรกรมี "ความมั่นใจ" (“定心丸”)
๒.๓ อุตสาหกรรมในชนบทของจีนได้เร่งตัวขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และการรวมอุตสาหกรรมหลักในชนบททั้งทุติยภูมิและตติยภูมิได้กลายเป็นการสนับสนุนที่สำคัญสำหรับการจ้างงานและรายได้ของเกษตรกร โดยได้เป็นเสาการเติบโตที่สำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจในชนบท ซึ่งในอนาคต ยังคงมุ่งเน้นไปที่การปฏิรูปโครงสร้างของด้านอุปทานการเกษตร การสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการรวมกลุ่มและการพัฒนาอุตสาหกรรม การขยายห่วงโซ่อุตสาหกรรมเสริมสร้างห่วงโซ่คุณค่า และเร่งการก่อตัวของรูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมในชนบทที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร วิสาหกิจและสังคม
บทสรุป
ผลสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาการเกษตรและชนบทในช่วง “แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๓” (“十三五”) ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการบูรณาการในการพัฒนาเมืองและชนบทอย่างมั่นคง มีการส่งเสริมความเท่าเทียมกันของบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานในเขตเมืองและชนบทให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบประกันบำนาญขั้นพื้นฐานของผู้อยู่อาศัยในเมืองและชนบทที่เป็นหนึ่งเดียวกัน รวมทั้งการประกันสุขภาพขั้นพื้นฐานสำหรับผู้มีถิ่นที่อยู่และระบบประกันการเจ็บป่วยขั้นวิกฤตที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น ๙๕% ของมณฑลทั่วประเทศได้ผ่านการประเมิน นอกจากนี้ การพัฒนาการศึกษาภาคบังคับขั้นพื้นฐานในระดับมณฑลมีความสมดุลและมีความก้าวหน้าอย่างมาก ในขณะที่ระดับการจ้างงานภาครัฐและการบริการของผู้ประกอบการเพื่อความเท่าเทียมกันทั้งในเมืองและชนบทก็ได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.ce.cn/xwzx/gnsz/gdxw/202010/28/t20201028_35944027.shtml
http://www.xinhuanet.com/2020-10/28/c_1126665844.htm
http://www.chinanews.com/cj/2020/10-27/9323465.shtml