bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ต.ค.๖๓ : นายจาง จุน ผู้แทนถาวรของจีนประจำสหประชาชาติ กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมคณะที่ ๓ ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ ๗๕ เมื่อวันที่ ๖ ต.ค.๖๓ โดยแนะนำความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ของจีนในด้านสิทธิมนุษยชน

ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนายจาง จุน ผู้แทนถาวรของจีนประจำสหประชาชาติ (中国常驻联合国代表张军) กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมคณะที่ ๓ ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ ๗๕ เมื่อวันที่ ๖ ต.ค.๖๓ โดยแนะนำความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ของจีนในด้านสิทธิมนุษยชน (介绍中国人权事业的历史性成就。) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
 
๑. ในช่วง ๗๑ ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งประเทศจีนใหม่ (新中国成立71年来) จีนได้ก้าวกระโดดอย่างเข้มแข็งและประสบความสำเร็จด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นรูปธรรม โดยได้ยืนหยัดในการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางการแก้ไขปัญหาทั้งในเรื่องอาหารและเสื้อผ้าของประชากร ๑,๔๐๐ ล้านคน และได้ทำให้ผู้คน ๘๕๐ ล้านคน หลุดพ้นออกจากความยากจน ซึ่งจีนยึดมั่นในอำนาจสูงสุดของชีวิตผู้คน รวมทั้งใช้มาตรการที่เข้มงวดและอย่างทั่วถึงที่สุด ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ทำให้ได้รับชัยชนะครั้งสำคัญในการต่อสู้กับการแพร่ระบาด นอกจากนี้ จีนยังคงดำเนินการวางแผนโดยรวมและได้ออกแผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๓ ฉบับ ซึ่งทำให้ระบบคุ้มครองทางกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนของจีนมีความสมบูรณ์ โดยจีนยืนยันที่จะปกป้องความเป็นธรรมระหว่างประเทศและความยุติธรรม ตลอดจนการต่อต้านการแทรกแซงในกิจการภายใน (中国坚持捍卫国际公平正义,反对干涉内政,为发展中国家仗义执言,主持公道。)
 
๒. จีนจะปกป้องอำนาจอธิปไตย รวมทั้งความมั่นคงและผลประโยชน์ในการพัฒนาของประเทศจีนอย่างเฉียบขาด ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาของภูมิภาคตะวันตก เช่น ในเขตปกครองตนเองซินเจียง หรือเพื่อรักษาความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องรักษาหลักนิติธรรม ควบคู่กับรักษาความมั่นคงของชาติและการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน อันสอดคล้องกับแนวปฏิบัติร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ โดยจีนจะเดินตามเส้นทางนี้ไปข้างหน้าอย่างไม่ย่อท้อ (将坚定不移地沿着这一道路向前走。)
 
บทสรุป

นายจาง จุน ผู้แทนถาวรของจีนประจำสหประชาชาติ ได้กล่าวเน้นย้ำว่า เส้นทางสิทธิมนุษยชนของจีนพัฒนาโดยคนจีนเอง และความสำเร็จด้านสิทธิมนุษยชนของจีนเกิดขึ้นโดยคนจีนเอง ซึ่งจีนยินดีต้อนรับการเจรจาที่เท่าเทียมกัน แต่จะต่อต้านการแทรกแซงในกิจการภายในและการปฏิบัติอย่างสองมาตรฐาน ทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสิทธิมนุษยชนเท่ากับจิตวิญญาณแห่งความเท่าเทียม การให้ความเคารพต่อกัน การเปิดกว้างและความอดทน โดยจีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับประเทศต่างๆ ต่อไป เพื่อก้าวไปสู่อุดมคติอันสูงส่งเกี่ยวกับ "การที่ทุกคนมีสิทธิมนุษยชน" (“人人得享人权”)
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์

http://www.gov.cn/xinwen/2020-10/07/content_5549581.htm