bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา (วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ส.ค.๖๕) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ​ "สะพานขนาดใหญ่พิเศษอันไห่วาน" (安海湾特大桥) ซึ่ง​เป็นหนึ่งในโครงการเส้นทางรถไฟฝูโจว-เซี่ยะเหมินที่สร้างขึ้นใหม่ โดยมีความยาวรวม ๙.๔๖ กิโลเมตร

จีนศึกษา (วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ส.ค.๖๕) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ​ "สะพานขนาดใหญ่พิเศษอันไห่วาน" (安海湾特大桥) ซึ่ง​เป็นหนึ่งในโครงการเส้นทางรถไฟฝูโจว-เซี่ยะเหมินที่สร้างขึ้นใหม่ โดยมีความยาวรวม ๙.๔๖ กิโลเมตร ซึ่งส่วนข้ามทะเลมีความยาว ๑.๕๖ กิโลเมตร และนับเป็นครั้งแรกที่การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงของจีนไม่ได้ใช้หินโรยทางบนสะพานขึงข้ามทะเลในระหว่างการก่อสร้าง โดยเมื่อเปิดใช้งานแล้ว รถไฟความเร็วสูงที่มีความเร็ว ๓๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะสามารถวิ่งผ่านสะพานโดยไม่ต้องลดความเร็ว โดยรถไฟความเร็วสูงจะสามารถวิ่งผ่านสะพานตอนหลักที่มีความยาว ๖๕๐ เมตรภายในเวลาไม่ถึง ๗ วินาที

สะพานขนาดใหญ่พิเศษอันไห่วาน ที่ได้ข้ามทะเลบริเวณอ่าวอันไห่ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสภาพอากาศแบบมรสุมและพายุไต้ฝุ่นที่มีผลกระทบอย่างมากต่อความปลอดภัยในการใช้สะพาน ดังนั้น ผู้ดำเนินการก่อสร้างสะพานจึงได้ใช้แดมเปอร์ (Damper) ในประเทศเพื่อ "ป้องกันลมและทำให้เสถียร" รวมทั้ง​เพื่อให้แน่ใจว่าสะพานมีความมั่นคงและทางรถไฟมีความมั่นคง โดยมีการติดตั้งแดมเปอร์ภายนอกและแดมเปอร์ในตัวสองตัวบนสายเคเบิลยึดแต่ละเส้นหลักของสะพาน เมื่อสายเคเบิลเผชิญกับลมแรงและการสั่นสะเทือนความถี่สูง แดมเปอร์จะสามารถชดเชยการสั่นและรับประกันความเสถียรของสายเคเบิล ในเวลาเดียวกัน มีการติดตั้งแดมเปอร์ที่ส่วนล่างของคานเหล็กของสะพานหลักเพื่อต้านทานการเคลื่อนตัวขนาดใหญ่อย่างรวดเร็วที่เกิดจากแผ่นดินไหวไว้ด้วย

ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงฝูโจว-เซี่ยะเหมิน เป็นรถไฟความเร็วสูงข้ามทะเลสายแรกในประเทศจีน ด้วยความเร็วที่ออกแบบไว้ ๓๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความยาวตลอดสายรวม ๒๗๗.๔๒ กิโลเมตร ซึ่งหลังจากเปิดให้มีการเดินรถแล้ว การเดินทางจาก​นครฝูโจวไปยังเมืองเซี่ยะเหมินจะสั้นลง​ เหลือน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่แข็งแกร่งสำหรับการสร้าง "วงแหวนเศรษฐกิจภายในหนึ่งชั่วโมง" ตามแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน

ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://news.cyol.com/gb/articles/2022-08/05/content_wOPebTRMA.html )