bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันอาทิตย์ที่ ๑๗ ม.ค.๖๔ สมุดปกขาว (白皮书) เรื่อง "ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของจีนในยุคใหม่" (“新时代的中国国际发展合作”) เผยแพร่โดยสำนักงานสารนิเทศคณะรัฐมนตรีจีน (国务院新闻办公室)


 
๑. การสื่อสารนโยบายให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เนื่องจากการสื่อสารเชิงนโยบายเป็นพื้นฐานสำหรับการร่วมสร้างประเทศ“ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ("一带一路”/"สายแถบและเส้นทาง" “Belt and Road Initiative : BRI") เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันทางการเมือง การดำเนินความร่วมมือในทางปฏิบัติและการรวมผลประโยชน์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดในการแสวงหาพื้นที่ร่วมกัน ในขณะที่สงวนความแตกต่างและรวบรวมพื้นฐานร่วมกันตลอดจนแก้ไขความแตกต่าง ทั้งนี้ จีนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความเข้าใจแบบสองทางกับประเทศผู้ร่วมสร้าง โดยจัดการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการและจัดส่งที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการส่งเสริมการพัฒนาของประเทศตาม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ในทิศทางเดียวกันและการทำงานร่วมกัน กล่าวคือ
     ๑.๑ การก่อสร้างร่วมกันของโครงการริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" จะเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศต่างๆ อาทิ การเชื่อมต่อกับ"แผนแม่บทการเชื่อมต่ออาเซียนปี ๒๐๒๕" และ "วาระปี ๒๐๖๓" ของสหภาพแอฟริกา เป็นต้น  
     ๑.๒ สร้างโอกาสในการรวมกลุ่มและพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าในระดับภูมิภาค
 
๒. เร่งการเชื่อมต่อสิ่งอำนวยความสะดวก อันเป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้าง "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ร่วมกัน โดยจีนสนับสนุนการสร้างช่องทางที่เป็นโครงสร้างหลักร่วมกัน เช่น ถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ สะพานและเครือข่ายท่อสื่อสารในประเทศ“ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” โดยช่วยสร้างรูปแบบการเชื่อมต่อโครงข่าย“ หกทางหกถนนหลายประเทศหลายท่าเรือ” (“六廊六路多国多港”) อาทิ  
      ๒.๑ การก่อสร้างระเบียงเศรษฐกิจจีน – ปากีสถาน โดยสร้างทางด่วนเปชวาร์ – การาจี ทางหลวงคาราโครัมรวมทั้งโครงการก่อสร้างและขยายส่วนถนนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของการค้าทางบกระหว่างจีน - ปากีสถาน รวมทั้งการก่อสร้างระเบียงเศรษฐกิจจีน – คาบสมุทรอินโดจีน และระเบียงเศรษฐกิจบังกลาเทศ - จีน - อินเดีย – เมียนมา เพื่อการเชื่อมต่อโครงข่ายและการพัฒนาร่วมกันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้
     ๒.๒ การสนับสนุนช่องทางการขนส่งเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อช่วยลดปัญหาสินค้าค้างส่งของเรือบรรทุกสินค้าในท่าเรือ และได้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อโลจิสติกส์การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ ๒๑
     ๒.๓ การสนับสนุนการสร้างศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น และช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่น รวมทั้งเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้คนและการค้าข้ามพรมแดน
 
๓. ส่งเสริมการค้าที่ไม่มีข้อจำกัด เนื่องจากการค้าเป็นกลไกสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยความช่วยเหลือด้านการส่งเสริมการค้า โดยจีนช่วยประเทศที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงเงื่อนไขการค้าและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาการค้าของตนวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการค้าระหว่างประเทศที่ไม่มีข้อจำกัด ภายใต้ข้อริเริ่ม "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง"  
     ๓.๑ การส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังพัฒนาในรูปแบบของห่วงโซ่อุปทานโลก โดยการเร่งความเร็วและประสิทธิภาพของพิธีการศุลกากรของสินค้าและต่อสู้กับอาชญากรรมลักลอบนำเข้าได้ดีขึ้น
     ๓.๒ การปรับปรุงความสามารถในการพัฒนาการค้า เพื่อสร้างขีดความสามารถทางการค้าและสนับสนุนเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดเพื่อรวมเข้ากับระบบการค้าพหุภาคีได้ดีขึ้น
 
๔.  ส่งเสริมการจัดหาเงินทุน โดยจีนช่วยเหลือประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างแข็งขันในการปรับปรุงระบบการเงินของตนและสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือด้านการจัดหาเงินเพื่อรับประกันการสื่อสารทางการเงิน อาทิ
     ๔.๑ สนับสนุนการปรับปรุงระบบการเงิน เพื่อปรับปรุงกรอบเศรษฐกิจมหภาคและการเงิน โดยการจัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาทางการเงิน“ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”
     ๔.๒ สร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือทางการเงินแบบพหุภาคี โดยการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือด้านการเงินเพื่อการพัฒนาพหุภาคีร่วมกับธนาคารโลก
 
๕. การปรับปรุงการสื่อสารระหว่างคนสู่คน ทั้งนี้เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างชาติอยู่ในความใกล้ชิดของผู้คนและความใกล้ชิดของผู้คนอยู่ที่การสื่อสารด้วยหัวใจ ด้วยการดำเนินการช่วยเหลือด้านการดำรงชีวิตของประชาชน โดยจีนได้เพิ่มการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความร่วมมือทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างรูปแบบของความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งความเข้าใจซึ่งกันและกันและการเคารพซึ่งกันและกัน ตลอดจนสร้างรากฐานทางสังคมในการสร้าง "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ร่วมกัน อาทิ
     ๕.๑ การดำเนินโครงการเพื่อการดำรงชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย น้ำประปา การดูแลทางการแพทย์ การศึกษา และทางหลวงชนบท ฯลฯ
     ๕.๒ การแลกเปลี่ยนและเพิ่มพูนความรู้รวมทั้งความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขและวัฒนธรรมประจำชาติของจีน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน
     ๕.๓ เสริมสร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรม โดยดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับสิ่งที่ระลึกทางวัฒนธรรม
 
บทสรุป

นับตั้งแต่มีการริเริ่มโครงการ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ("一带一路”/"สายแถบและเส้นทาง" “Belt and Road Initiative : BRI") จีนได้ดำเนินความร่วมมือด้านการพัฒนาอย่างแข็งขันตามความต้องการในการพัฒนาของประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยมีบทบาทในการสื่อสารเชิงนโยบายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในการเร่งการเชื่อมต่อสิ่งอำนวยความสะดวก การส่งเสริมการค้าที่ไม่มีข้อจำกัด การส่งเสริมการเชื่อมต่อทางการเงิน การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชน และสนับสนุนการพัฒนาของทุกประเทศในการสร้างพื้นที่ สร้างโอกาสและส่งเสริมการร่วมสร้าง“ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หรือ “สายแถบและเส้นทาง”  ที่มีคุณภาพสูง
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์ 

http://www.gov.cn/xinwen/2021-01/10/content_5578617.htm