bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา (วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ก.ย.๖๕) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาของจีน จากการที่นางซุน ชุนหลาน กรรมการกรมการเมืองคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองนายกรัฐมนตรีจีน ได้พบปะกับผู้แทนครูดีเด่นที่มีชื่อเสียงในการสอนระดับประเทศและผู้แทนนักศึกษา

จีนศึกษา (วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ก.ย.๖๕) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาของจีน จากการที่นางซุน ชุนหลาน กรรมการกรมการเมืองคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองนายกรัฐมนตรีจีน ได้พบปะกับผู้แทนครูดีเด่นที่มีชื่อเสียงในการสอนระดับประเทศและผู้แทนนักศึกษาสายครุศาสตร์ เนื่องในโอกาสใกล้กับวันครูของจีนปีที่ ๓๘ ณ มหาศาลาประชาชนในกรุงปักกิ่ง

นางซุน ชุนหลาน ชี้ให้เห็นว่า ครูเป็นรากฐานและเป็นแหล่งกระตุ้นให้การศึกษาเจริญรุ่งเรือง ตั้งแต่การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคฯ ครั้งที่ ๑๘ เป็นต้นมา การสร้างสรรค์บุคลากรวิชาชีพครูของจีนประสบความสำเร็จเชิงประวัติศาสตร์ ครูและอาจารย์รวมกว่า ๑๘.๔๔ ล้านคนของจีนยืนหยัดบนเวทีสอน ทุ่มเทกับการสอนหนังสือและอบรมศีลธรรมจรรยาเยาวชนของชาติ ปฏิบัติตามมาตรการปฏิรูปต่าง ๆ ร่วมมือกันผลักดันให้การศึกษาเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่เชิงโครงสร้าง การพัฒนาประเทศชาติให้รุ่งเรืองนั้นต้องอาศัยการศึกษาที่แข็งแรง การศึกษาที่ทันสมัยหวังว่าครูส่วนใหญ่จะระลึกถึงการมอบหมายของเลขาธิการพรรคฯ สี จิ้นผิง ในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคใหม่ โดยแบกรับความรับผิดชอบของการเป็นผู้สร้างและผู้สืบทอดที่คู่ควรกับงานอันยิ่งใหญ่อย่างจริงจัง ต่อการฟื้นฟูประชาชาติจีนให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องยืนหยัดให้ครูอาจารย์ได้รับการศึกษาอย่างดี รักษาระเบียบวินัยของตนอย่างเข้มงวด เป็นแบบอย่างของนักเรียนนักศึกษา มีความแน่วแน่ในอุดมคติและความเชื่อ มีคุณธรรมที่สูงส่ง มีความรู้ในวิชาชีพเป็นเลิศ มีจิตใจเมตตากรุณาเสมอ โดยให้การศึกษาที่เหมาะสมและให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนอย่างครอบคลุม ส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาพัฒนาตนทั้งในด้านศีลธรรม ปัญญา สุขภาพร่างกาย พร้อมด้วยสุนทรียภาพ รวมทั้งมีความขยันหมั่นเพียร เพื่อให้การต้อนรับความสำเร็จในการจัดการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคฯ ครั้งที่ ๒๐

นางซุน ชุนหลาน เน้นว่า คณะกรรมการพรรคและรัฐบาลทุกระดับควรให้ความสำคัญกับการสร้างครูผู้สอนเป็นจุดเน้นของการลงทุนด้านการศึกษา ปรับปรุงระดับการศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย และดำเนินนโยบายต่างๆ เช่น การประเมินตำแหน่งงาน การขอตำแหน่งวิชาการ รายได้ เงินรางวัล และการสร้างแรงจูงใจในการฝึกอบรม ฯลฯ เพื่อดึงดูดความสามารถที่โดดเด่นมากขึ้นในการสอน รวมทั้งสร้างบรรยากาศที่ดีของการเคารพครูอาจารย์และมีค่านิยมด้านการศึกษาที่ดีในสังคม

ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.jyb.cn/rmtzgjyb/202209/t20220910_2110945297.html )