bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันอาทิตย์ที่ ๒๑ ก.พ.๖๔ ความร่วมมือด้านการค้าระหว่างจีน-สหภาพยุโรป ได้ทำให้จีนขยับขึ้นเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปแทนที่สหรัฐฯ เป็นครั้งแรก


 
๑. การที่จีนขยับขึ้นเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ทั้งนี้ เนื่องจากหลายปีมานี้ขนาดของการค้าจีน-สหภาพยุโรปขยายตัวอย่างมั่นคง พร้อมไปกับความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่กันระหว่างสองฝ่ายที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานสถิติสหภาพยุโรป (欧盟统计局) ได้ระบุว่า ยอดการนำเข้าและส่งออกสินค้ากับจีนของสหภาพยุโรปในปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓)  ล้วนเติบโตขึ้น ทำให้จีนขยับขึ้นเป็นคู่ค้ารายใหญ่สุดของสหภาพยุโรปแทนที่สหรัฐฯ เป็นครั้งแรก
 
๒. ความสำเร็จดังกล่าวได้มาอย่างไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลาง “พายุ” (“逆风”) ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ รวมทั้งการเผชิญกับระบบอนุรักษ์นิยมและการค้าระหว่างประเทศที่ซบเซา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การค้าระหว่างจีน -สหภาพยุโรป ยังคงทวนกระแสลมได้ โดยการใช้ “ความแข็งแกร่งดั่งวัว” (“牛劲”) ดันการค้าทวิภาคีขึ้นสู่ระดับใหม่ โดยร่วมกันสร้างความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทานโลกและกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
 
๓. ข้อสังเกต การมุ่งไปข้างหน้าในยุคหลังการแพร่ระบาด โดยเฉพาะการที่ได้มีการเจรจาข้อตกลงการลงทุนตามกำหนดข้อตกลงสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จีน - สหภาพยุโรป ทำให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน - สหภาพยุโรปนำไปสู่โอกาสใหม่ที่กว้างขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสใหม่ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและส่งเสริมความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างจีน - สหภาพยุโรป จึงเป็นพลังที่แข็งแกร่งมากขึ้น
 
บทสรุป

 
ความร่วมมือระหว่างจีน-สหภาพยุโรปนั้น ไม่เพียงแต่มีผลประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น หากยังมีจุดยืนตรงกันในด้านการรักษาระบบพหุภาคี กระแสโลกาภิวัติทางเศรษฐกิจ รวมถึงเชิดชูการเปิดเสรีและการค้าเสรี ตลอดจนคัดค้านระบบอนุรักษ์นิยม จึงทำให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าจีน-สหภาพยุโรปคงไว้ซึ่งความแข็งแกร่ง โดยจะเป็น “เครื่องยนต์คู่” (“双引擎”) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล  
 
ข้อมูลจากเว็บไซต์