bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันอาทิตย์ที่ ๒๔ พ.ย.๖๒ กลไกความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน ตอนที่ ๕ – จบ ปัจจัยที่เกื้อกูลต่อความสำเร็จ

ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้  

๑. การกระชับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างจีน-อาเซียน โดยเฉพาะความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ ดังกรณีเมื่อวันที่ ๓๑ ก.ค.๖๒ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศจีน-อาเซียน ที่กรุงเทพฯ ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ บรรลุความรับรู้ร่วมกันทางเศรษฐกิจ การค้า ความมั่นคง และวัฒนธรรม ฯลฯ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการร่วมกันสร้าง “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” โดยต่างเห็นพ้องกันถึงการประสานข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เข้ากับแผนแม่บทการเชื่อมโยงอาเซียน ๒๐๒๕ และพร้อมจะดำเนินการเจรจาให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ตลอดจนได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือน พ.ย.๖๒ ณ กรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นการอัดฉีดพลังใหม่ให้กับการเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียนอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะความคืบหน้าในการร่างกฎเกณฑ์ในภูมิภาค ที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมกันประกาศว่า ได้ตรวจสอบร่างเอกสาร “เกณฑ์ปฏิบัติในทะเลจีนใต้” รอบแรกก่อนกำหนด อันสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของจีนและอาเซียนในด้านการร่วมกันพิทักษ์สันติภาพและความมั่นคงในทะเลจีนใต้

๒. การวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง โดยการใช้เมืองริมชายฝั่งทะเลและเมืองด่านชายแดนเป็นจุดเชื่อมต่อ ผ่านศูนย์โลจิสติกส์คลังสินค้าทัณฑ์บนแห่งนครหนานหนิงซึ่งเป็นศูนย์กลางเครือข่าย เพื่อให้บริการด้านโลจิสติกส์คลังสินค้าทัณฑ์บนโดยตรงแก่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยนครหนานหนิงอาศัย ๓ เมืองชายฝั่งทะเล คือ เมืองเป๋ยไห่ เมืองชินโจว และเมืองฝางเฉิงก่าง กับเมืองด่านชายแดน คือ ด่านโหย่วอี้ เมืองผิงเสียง และด่านตงซิง นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลระดับท้องถิ่นของเขตกวางสี ได้ผลักดันให้เมืองฉงจั่ว (Chongzuo City) เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางถนนสู่อาเซียน และเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญที่ติดต่อกับเวียดนาม อีกทั้งยังได้สนับสนุนโครงการความร่วมมือต้นแบบผ่านนิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทยซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองฉงจั่ว โดยมีบริษัทน้ำตาลมิตรผลของไทยได้ไปตั้งโรงงานผลิตน้ำตาลอยู่ภายในเขตนิคมอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งมุ่งหวังสู่การเป็นฐานการผลิตและแปรรูปน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน

๓. ข้อเสนอ
        ๓.๑ การพัฒนาอย่างผสมผสานของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิดเส้นทางสายไหม หรือ ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” แม้ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศจีน แต่ได้กลายเป็นของทั้งโลก โดยมีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์และการมองไปสู่อนาคต ซึ่งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน เพื่อแบ่งปันแนวปฏิบัติในการพัฒนาเศรษฐกิจ การหารือเกี่ยวกับแนวโน้ม และแนวทางในการผสมผสานการพัฒนาด้านวัฒนธรรม รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงวัฒธรรม จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน อันสามารถขยายผลไปสู่ความร่วมมือด้านอื่นๆ โดยเฉพาะด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ
        ๓.๒ การจัดประชุมฟอรั่มวัฒนธรรมจีน – อาเซียน ได้กลายเป็นเวทีสำคัญในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความร่วมมือระหว่างจีน - อาเซียนและเสริมสร้างความเข้าใจและมิตรภาพระหว่างกัน โดยมีศูนย์จีน – อาเซียนจะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายในการส่งเสริมการรวมตัวกันของวัฒนธรรมจีนและอาเซียน การท่องเที่ยวส่งเสริมเป็นเครือข่ายของประชาชนและกระชับความร่วมมืออย่างจริงจัง ในฐานะที่เป็นกิจกรรมที่สำคัญภายใต้กรอบของงานแสดงสินค้า China-ASEAN ซึ่งการประชุมฟอรั่มวัฒนธรรมจีน – อาเซียนมีบทบาท   เชิงบวกในการส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวระหว่างจีนและอาเซียน อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในทางปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพื่อความหลากหลายเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนและการพัฒนา

บทสรุป

ความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียนเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งได้มีการประกาศร่วมกันในการสร้างจุดเด่นแห่งความร่วมมือ โดยการกำหนดให้ปี ค.ศ.๒๐๒๐ เป็นปีแห่งความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัลจีน-อาเซียน ขยายความร่วมมือด้านอีคอมเมิร์ส การประดิษฐ์คิดสร้างทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เครือข่าย 5G และเมืองอัจฉริยะ ตลอดจนร่วมกันรักษาลิทธิหลายฝ่าย (ลัทธิพหุภาคี) ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ร่วมกันของจีนและอาเซียน นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยครึ่งปีแรกของปีนี้ ยอดการค้านำเข้าส่งออกระหว่างจีนกับอาเซียนสูงถึง ๒๙๑,๘๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๔.๒% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ทำให้จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ ๑ ของอาเซียนติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ในขณะที่อาเซียนเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ ๒ ของจีน และอาเซียนกลายเป็นเขตสำคัญของการลงทุนในต่างประเทศของนักธุรกิจจีน นอกจากนี้ ควรมีการสร้างสรรค์เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) ให้กลายเป็นเขตที่เปิดกว้างทางการเงินสู่อาเซียน ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับยุทธศาสตร์การเปิดกว้างทางการเงินของจีนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างจีน-อาเซียน ภายใต้กรอบข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative) หรือ BRI ทั้งนี้ เนื่องจากวัฒนธรรมคือความทรงจำและความทรงจำคือฉาก การสร้างฉากควรให้ความสนใจกับเรื่องราวและความหมายเชิงสัญลักษณ์เพียงผ่านฉากเพื่อแพร่กระจายวัฒนธรรมวัฒนธรรมที่มีคุณค่าร่วมสมัย อันจะยังประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์ไทย-จีน

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


ข้อมูลจากเว็บไซต์ 

http://www.thestandard.com.hk/breaking-news.php?id=121215&sid=3 

http://thai.cri.cn/20190204/7fac7e6b-9a92-7e7d-c01f-7c639814d717.html 

http://thai.cri.cn/20190204/33fc6f51-1463-b6d4-598f-8656d17c93c5.html 

http://thai.cri.cn/20190128/ea49da08-56b6-d98a-d3bd-ec70edc51348.html 

http://thai.cri.cn/20190204/5ea48e0f-f8f8-878e-2a9d-2cca61b22c18.html 

http://thai.cri.cn/20190201/cb65c11e-86b3-ca16-c2d7-1ad4aa1b61f4.html