ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับท่าทีความเคลื่อนไหวของจีน โดยนายจง ซาน (钟山) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (商务部部长) ที่ได้เข้าร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าจีน-อาเซียน (๑๐+๑) ครั้งที่ ๑๙ หรือ 第19次中国—东盟(10+1)经贸部长会议 ที่ได้จัดการประชุมขึ้นแบบทางไกล เมื่อวันที่ ๒๗ ส.ค.๖๓ โดยในภาพรวม ทั้งจีนและอาเซียนต่างยินดีที่จะร่วมมือกันส่งเสริมการค้าและการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นว่า แถลงการณ์ร่วมของการประชุมครั้งนี้เป็นสัญญาณชัดเจนที่ส่งเสริมการค้าและการลงทุนด้วยสนธิสัญญาการค้าเสรี รักษาห่วงโซ่อุปทานของสินค้าในภูมิภาคและทั่วโลก ตลอดจนบรรเทาผลกระทบจากโควิด-๑๙ ที่มีต่อเศรษฐกิจ และสร้างเขตเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งในแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุม ระบุว่า
๑.๑ รัฐมนตรีทั้งหลายรู้สึกยินดีที่การค้าและการลงทุนระหว่างจีน-อาเซียน รักษาการเติบโตที่ดีในช่วงเวลามีการระบาดของโควิด-๑๙ พร้อมกับแสดงให้เห็นถึงความเหนียวแน่นและศักยภาพมหาศาลของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองฝ่ายอย่างชัดเจน
๑.๒ ตั้งแต่ ปี ๒๐๐๙ (พ.ศ.๒๕๕๒) เป็นต้นมา จีนเป็นหุ้นส่วนการค้าใหญ่ที่สุดของอาเซียนมาโดยตลอด โดยสถิติจากทางการจีนระบุว่า ครึ่งแรกของปีนี้ อาเซียนขยับขึ้นเป็นหุ้นส่วนทางการค้าใหญ่ที่สุดของจีนเป็นครั้งแรก
๒. ในการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน กับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (๑๐+๓) ครั้งที่ ๒๓ หรือ 第23次东盟—中日韩(10+3)经贸部长会议 ซึ่งได้จัดการประชุมขึ้นแบบทางไกล เมื่อวันที่ ๒๘ ส.ค.๖๓ กล่าวคือ
๒.๑ ที่ประชุมได้ผ่านแผนปฏิบัติการผ่อนคลายผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคระบาด โดยเน้นส่งเสริมความร่วมมือและผลักดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิค-๑๙
๒.๒ ได้ออกแถลงการณ์ร่วมและแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการผ่อนคลายผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิค-๑๙ ระหว่างอาเซียน กับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ พร้อมกับหวังว่า จะส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างกัน เพื่อช่วยเหลือภูมิภาคดังกล่าวรับมือสถานการณ์เร่งด่วนในอนาคต และบรรลุซึ่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโรคระบาด
๒.๓ ที่ประชุมยังเน้นถึงความสำคัญของการฟื้นฟูความมั่นใจทางการค้า เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโรคระบาด โดยเห็นด้วยกับการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อยกระดับความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ภายในปีนี้ นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำถึงการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคว่ามีความหมายสำคัญต่อการฟื้นฟูความมั่นใจ การส่งเสริมโครงสร้างเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค และการแสดงถึงระบบการค้าพาหุภาคีในภูมิภาค
๓. ข้อสังเกต
๓.๑ ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าจีน-อาเซียน (๑๐+๑) ครั้งที่ ๑๙ ได้บรรลุผลลัพธ์ ๓ ประการ (会议取得三项成果) ได้แก่ (๑) การบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับแผนการทำงานในอนาคตของเขตการค้าเสรีจีน - อาเซียนเพื่อยกระดับ "พิธีสาร" (“议定书”) (๒) การยืนยันการจัดตั้งโครงการความร่วมมือเช่น "การสร้างขีดความสามารถในการบังคับใช้แหล่งที่มาของกฎแหล่งกำเนิด" (“原产地规则执行能力建设”)และ (๓) เป็นการตอกย้ำว่าจีนและอาเซียน ๑๐ ประเทศ (重申以中国和东盟10国)
๓.๒ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน กับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (๑๐+๓) ครั้งที่ ๒๓ ได้บรรลุผลลัพธ์ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) การนำ "แผนปฏิบัติการ ๑๐ + ๓ เรื่องการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙" (๒) การสรุปรายงานเรื่อง "การเสริมสร้างการเชื่อมต่อโครงข่ายซัพพลายเชน ๑๐ + ๓" และ (๓) การผ่าน "รายงานความคืบหน้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ๑๐ + ๓ (พ.ศ.๒๕๖๒-๒๕๖๓)"
บทสรุป
ในระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๘ ส.ค.๖๓ นอกจากจะมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าจีน-อาเซียน (๑๐+๑) ครั้งที่ ๑๙ และการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน กับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (๑๐+๓) ครั้งที่ ๒๓ แล้ว ยังมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจและการค้าเอเชียตะวันออกครั้งที่ ๘ หรือ 第8次东亚峰会(EAS)国家经贸部长会议 ที่ทุกฝ่ายระบุว่า จะส่งเสริมการดำเนินการตามความคิดริเริ่มของความร่วมมือเพื่อตอบสนองต่อผลกระทบด้านลบของการแพร่ระบาดต่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งเสถียรภาพของตลาดส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจใน ประเทศต่างๆ และเพิ่มความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยทุกฝ่ายสนับสนุนการปฏิรูปที่จำเป็นขององค์กรการค้าโลก (世贸组织 / World Trade Organization : WTO) และทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เปิดกว้างโปร่งใสไม่เลือกปฏิบัติมีเสถียรภาพและเป็นประโยชน์ร่วมกัน
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.mofcom.gov.cn/article/ae/ai/202008/20200802996784.shtml
http://www.xinhuanet.com/2020-08/29/c_1126428687.htm
http://www.myzaker.com/article/5f49b143b15ec045cb35f5d3/?f=ludashi
http://www.cs.com.cn/xwzx/hg/202008/t20200828_6089808.html
http://world.zijing.org/2020/0828/829365.shtml