bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันอาทิตย์ที่ ๘ ก.ย.๖๒ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์: บทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน” (战略伙伴:中泰关系分析) (ตอนที่ ๓) โดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

โดยสรุปย่อประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้

        ๔.๕ ในด้านการศึกษา วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว教育、文化与旅游方面
ทั้งสองประเทศจะกระชับการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการศึกษาและการให้การรับรองปริญญาบัตร ประกาศนียบัตรและวุฒิการศึกษาของสถาบันการศึกษาระหว่างกัน และส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน และภาษาไทย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมในแต่ละประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมการทำงานของสถาบันขงจื๊อและห้องเรียนขงจื๊อในประเทศไทย และการส่งเสริมมุมไทยและไทยศึกษาในประเทศจีน
两国密切教育方面的合作与交流,可互认学历,支持和鼓励中文、泰文教学,还组织文化交流,各自在对方国家设立文化中心,支持在泰国开设孔子学院和孔子学堂,在中国设立泰语角和泰国研究中心。
ทั้งสองประเทศจะขยายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวและการบริการที่มีมาตรฐานความปลอดภัย
两国扩大旅游合作与交流,特别是支持推动高品质旅游及对风景区的保护,包括提供相关便利和规范安全的服务等。
        ๔.๖ ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม科技与创新方面
กระชับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยส่งเสริมการจัดตั้งและการพัฒนาห้องปฏิบัติการร่วมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากร เช่น นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ เป็นต้น ตามกรอบแผนงานความร่วมมือของคณะกรรมการร่วมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างไทยกับจีน
密切科技方面的交流与合作,设立了科技知识传播与创新联合机构,并根据中泰科技联合委员会的合作计划框架促进诸如青年科技人才的交流。
ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน เพื่อเพิ่มพูน ขีดความสามารถ ในการแข่งขันในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ
鼓励设立技术中心,以推动相互间的技术交流,提高在区域内的竞争能力和水平,特别是加强空间技术开发方面的合作。
        ๔.๗ ในด้านพลังงาน能源方面
ทั้งสองประเทศจะเพิ่มพูนความร่วมมือด้านพลังงาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานจากฟอสซิล (น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน) การพัฒนาพลังงานไฟฟ้า การพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืนระหว่างสองประเทศ
两国加强能源方面的合作,特别石化类能源开发(石油、天然汽和煤炭)、火电能源开发、选择性能源开发和清洁能源开发以及能源保护等方面的合作,以促进两国的可持续发展。
        ๔.๘ ในด้านสมุทรศาสตร์海洋资源方面
ทั้งสองประเทศเห็นห้องร่วมกันที่จะขยายความร่วมมือในการสำรวจสมุทรศาสตร์และการสำรวจทางวิทยาศาสตร์บริเวณขั้วโลก ในการพัฒนาห้องปฏิบัติการร่วมเพื่อการค้นคว้าด้านสมุทรศาสตร์และการศึกษาสภาพภูมิอากาศ โดยห้องปฏิบัติการดังกล่าวจะจัดตั้งขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อการศึกษาสมุทรศาสตร์ในพื้นที่ทะเลอันดามันและทะเลจีนใต้ ภายใต้กรอบแผนงานความร่วมมือในระยะห้าปี (พ.ศ.๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) ของกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระหว่างสองประเทศ
两国一致同意扩大在海洋资源勘探和极地科考方面的合作,推动海洋学研究与气候研究联合实验室的工作。该实验室将设立在泰南普吉府,目的是根据两国自然资源与环境部2014-2018年为期5年的合作计划框架对安达曼湾和南中国海地区的海洋资源开展调查与研究。

ขอนำเสนอตอนที่ ๔ วิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ (实现战略目标的方法和途径 ) เพิ่มเติม และเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการเพื่อความร่วมมือ (加强合作的措施与手段 ) ซึ่งเป็นตอนจบต่อในวันพรุ่งนี้