ขอนำเสนอข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับท่าทีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีนและสหรัฐฯ จากการสนทนากันทางโทรศัพท์ เมื่อวันที่ ๖ ส.ค.๖๓ รวมทั้งจุดยืนของจีนต่อปัญหาทะเลจีนใต้และปัญหาไต้หวัน (ตอนที่ ๑) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. ท่าทีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีนและสหรัฐฯ
๑.๑ พลเอก เว่ย เฟิงเหอ (魏凤和上将) มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (国务委员兼国防部长) ของจีน ได้กล่าวถึงจุดยืนของจีนเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้และปัญหาไต้หวัน โดยเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดใช้ถ้อยคำและการกระทำที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งเสริมสร้างการป้องกันความเสี่ยงทางทะเล และหลีกเลี่ยงไม่ให้สถานการณ์ทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น เพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค (魏凤和就南海、台湾、美方对中方“污名化”等问题表达中方原则立场,要求美方要停止错误言行,加强海上风险管控,避免采取可能使局势升温的危险举动,维护地区和平稳定。)
๑.๒ นายมาร์ค เอสเปอร์ (Mark Esper ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (U.S. Secretary of Defense) กล่าวว่า ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศกำลังมีความตึงเครียด กองทัพสองฝ่ายควรรักษาการติดต่อและการเจรจากัน เพื่อควบคุมและลดความเสี่ยงเกิดวิกฤตให้น้อยลง (在两国关系紧张时,两军要保持对话磋商,管控危机,防止误判,降低风险。)
๒. อาจวิเคราะห์จุดยืนของจีนต่อปัญหาทะเลจีนใต้ ได้จากหลักฐานต่างๆ กล่าวคือ
๒.๑ รัฐบาลจีนได้แสดงจุดยืนสนับสนุนการยุติข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยการเจรจาอย่างสันติมาโดยตลอด โดยจีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้อย่างเหมาะสมผ่านการเจรจาอย่างสันติตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับและกฎหมายทะเลสมัยใหม่รวมถึงหลักการพื้นฐานและระบบกฎหมายที่กำหนดโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลปี ๑๙๘๒ (包括1982年《联合国海洋法公约》所确立的基本原则和法律制度,通过和平谈判妥善解决有关南海争议。) ที่ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนใน "แถลงการณ์ร่วม" ที่ออกในการประชุมสุดยอดจีน - อาเซียนอย่างไม่เป็นทางการปี ๑๙๙๗ (这已明确写入1997年中国-东盟非正式首脑会晤发表的《联合声明》中。)
๒.๒ รัฐบาลจีนยังได้เสนอข้อเสนอ "การระงับข้อพิพาทและการพัฒนาร่วมกัน" จีนได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประเทศที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้และได้รับฉันทามติในวงกว้าง กลไกการปรึกษาหารือทวิภาคีของจีนฟิลิปปินส์จีนเวียดนามจีนและมาเลเซียดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและการเจรจามีความก้าวหน้าในเชิงบวกในระดับที่แตกต่างกัน ในระหว่างการปรึกษาหารือเจ้าหน้าที่อาวุโสจีน - อาเซียนและการเจรจาจีน – อาเซียนทั้งสองฝ่ายยังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้และตกลงที่จะหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมโดยใช้สันติวิธีและการปรึกษาหารืออย่างเป็นมิตร (中国政府还提出"搁置争议、共同开发"的主张,中国与有关国家就南海问题多次进行磋商,交换意见,达成了广泛共识。中菲、中越、中马等国的双边磋商机制正在有效运行,对话取得不同程度的积极进展。在中国-东盟高官磋商、中国-东盟对话会中,双方也就南海问题坦诚交换意见,一致赞同以和平方式和友好协商寻求问题的妥善解决。)
๒.๓ จีนไม่เคยแทรกแซงเสรีภาพในการสัญจรของเรือและเครื่องบินต่างชาติในพื้นที่นี้และจะไม่ทำเช่นนั้นในอนาคต โดยจีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับประเทศต่างๆ ตามชายฝั่งทะเลจีนใต้เพื่อร่วมกันปกป้องความปลอดภัยของทางทะเลระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้ (中国过去从未干预过外国船舶和飞机在此地区的通行自由,今后也不会这样做。中国愿同南海沿岸国家一道,共同维护南海地区国际航道安全。) ปัญหาทะเลจีนใต้เป็นปัญหาระหว่างจีนและประเทศที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลจีนสนับสนุนการยุติข้อพิพาทกับประเทศที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอดผ่านการปรึกษาหารือแบบทวิภาคีที่เป็นมิตร การแทรกแซงของกองกำลังภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาและมี แต่จะทำให้สถานการณ์ซับซ้อนขึ้น (南海问题是中国与有关国家间的问题。中国政府一贯主张通过双边友好协商解决与有关国家之间的分歧。任何外部势力的介入都 是不可取的,只能使局势进一步复杂化。)
บทสรุป
การสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมจีน-สหรัฐฯ ดังกล่าวนั้น ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพทั้งสองของจีนและสหรัฐฯ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนระหว่างกองทัพทั้งสองในระยะต่อไป ( 双方就中美两国两军关系、下阶段两军交往等问题交换了意见。) และสำหรับการวิเคราะห์จุดยืนของจีนต่อปัญหาไต้หวัน จะนำเสนอต่อเป็นตอนที่ ๒ ในจีนศึกษาฉบับวันจันทร์ที่ ๑๐ ส.ค.๖๓
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์