มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. มณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีนครคุนหมิงเป็นเมืองเอก มีชายแดนติดกับเมียนมา ลาวและเวียดนาม รวมทั้งอยู่ห่างจากชายแดนไทยเพียง ๒๐๐ กิโลเมตรเศษ โดยกำลังเร่งผลักดันข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI) เพื่อช่วยส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑลหยุนหนาน ทำให้มีอัตราการเติบโตของคนที่เดินทางเข้าออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) สนามบินแต่ละแห่งในมณฑลหยุนหนาน มีเครื่องบินโดยสารขึ้นลงรวมทั้งสิ้น ๕๓๒,๙๐๐ เที่ยว มีปริมาณผู้โดยสารขาเข้าและออก ๖๗,๕๘๕,๖๐๐ คน และมีปริมาณขนส่งสินค้าขาเข้าและออก ๔๗๕,๐๐๐ ตัน
๒. แนวนโยบายในการพัฒนา
๒.๑ นโยบาย ๒ วงล้อขับเคลื่อน ประกอบด้วย นโยบาย “เชิญเข้ามา” และ นโยบาย “ก้าวออกไป” ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยขับเคลื่อนการเปิดเสรีการค้ากับต่างประเทศ นโยบายดังกล่าวมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและตลาดทั้งสองฝ่ายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
๒.๒ นโยบาย ๔ นอกเป็นตัวนํา ประกอบด้วย (๑) การค้ากับต่างประเทศ (๒) การเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ (๓) การร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยี และ (๔) การร่วมมือกับกลุ่มเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ โดยนโยบายดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในมณฑลหยุนหนาน และนําไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจของมณฑลในอนาคต
๒.๓ นโยบาย ๕ กุญแจสําคัญในการดําเนินยุทธศาสตร์การพัฒนามณฑลในระยะต่อไปจะถูกกําหนดให้อยู่ภายใต้กรอบ ”ห้ากุญแจสําคัญสู่ความสําเร็จ” ซึ่งประกอบด้วย (๑) การสร้างระบบการคมนาคมที่ครบวงจรโดยอาศัยแนวทางการเชื่อมโยงจากประเทศจีนสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (๒) การยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตจากปัจจุบันซึ่งมีขนาดเล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น (๓) การสร้างปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ประกอบด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การพัฒนารูปแบบของตลาดที่มีความทันสมัย การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต้อการลงทุน และเพิ่มความสามารถของแรงงานในระดับท้องถิ่น รวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการให้มีความทันสมัยมากขึ้น (๔) การส่งเสริมสนับสนุนการขยายตลาด (๕) การพัฒนากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมงานบริการ
๒.๔ นโยบาย ๑ วง ๕ โซน ๓ สาย โดย “หนึ่งวง” หมายถึง วงรอบกรอบพื้นที่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีการวางแผนจัดทําเป็นเขตเศรษฐกิจการค้าเสรี สำหรับ “ห้าโซน” หมายถึง มณฑลยูนนานต้องสร้างความร่วมมือที่แน่นแฟ้นกับอีก ๕ มณฑลในเขตตะวันตกอันประกอบด้วยมณฑลกุ้ยโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) มณฑลเสฉวน มหานครฉงชิ่ง และเขตปกครองตนเองทิเบต เพื่อทําให้นครคุนหมิงกับเมืองเอกของมณฑลตามที่ได้กล่าวมา กลายเป็นกลุ่มตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ภายในกลุ่มต้องพยายามประสานการพัฒนาระหว่างกันกับภายนอกประเทศใหญ่เป็นหนึ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาในเศรษฐกิจของทั้งกลุ่มมณฑลฝั่งตะวันตก ส่วน “สามสาย” หมายถึง การพัฒนาเส้นทางโครงข่ายคมนาคมเพื่อเป็นเส้นทางนําไปสู่ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย ๓ เส้นทางสําคัญ คือ (๑) เส้นทางสู่ตะวันตก (ทางออกมหาสมุทรอินเดีย) คือ เส้นทางคุนหมิง-มัณฑาเลย์-ย่างกุ้ง (๒) เส้นทางสู่สิงคโปร์ คือ เส้นทางคุนหมิง-กรุงเทพฯ-สิงคโปร์ และ (๓) เส้นทางสู่โฮจิมินห์คือ เส้นทางคุนหมิง-เหล่าเจีย (เวียดนาม) -ฮานอยโฮจิมินห์ โดยทั้งสามเส้นทางคือ เส้นทางออกสู่ทะเลที่สําคัญของมณฑลหนุนหนาน อีกทั้งยังเป็นเส้นทางสายเศรษฐกิจที่ทําให้เกิดการค้าขายและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันในระดับภูมิภาค
๓. ความเคลื่อนไหวที่สำคัญในรอบปีนี้
๓.๑ เมื่อต้นปีนี้ กลุ่มท่าอากาศยานประจำมณฑลหยุนหนานเปิดเผยว่า นับถึงปลายปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) กลุ่มท่าอากาศยานประจำหยุนหนานมีเส้นทางการบินรวมทั้งสิ้น ๕๒๔ เส้นทาง เป็นเส้นทางการบินในประเทศ ๔๔๑ เส้นทาง เส้นทางการบินระหว่างประเทศ ๗๘ เส้นทาง และเส้นทางการบินในภูมิภาค ๕ เส้นทาง ทั้งนี้ ท่ามกลางเส้นทางการบินไปยังเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ สนามบินคุนหมิงมีเส้นทางการบินไปยังสถานที่ท่องเที่ยวหลักและเมืองหลวงของประเทศอาเซียน ๑๐ ประเทศและประเทศในเอเชียใต้ ๕ ประเทศ โดยสนามบินคุนหมิงถือเป็นสนามบินที่มีเส้นทางบินสู่เอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของจีน ซึ่งมีถึง ๓๔ เส้นทาง
๓.๒ เมื่อวันที่ ๑๒ มิ.ย.๖๒ มีการจัดงานแสดงสินค้าและการประชุมหารือทางการค้าการลงทุนประเทศเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๒๐๑๙ ขึ้นที่นครคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) โดยมีนาย U Thant Myint รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์เมียนมา นาย Chhuon Dara เลขาธิการฝ่ายกิจการของรัฐกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย เวียดนาม ลาว มาเลเซีย เมียนมา และฟิลิปปินส์ ฯลฯ เข้าร่วมพิธีเปิดงานดังกล่าว
บทสรุป
พิ้นฐานความสำเร็จของมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) ในการเป็นประตูสู่ภูมิภาคเอเชียใต้ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากการดำเนินการตามแผนพัฒนาที่กำหนดไว้ภายใต้ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” แล้ว ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากโครงการพัฒนาต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม เช่น สนามบิน ฯลฯ และที่ต้องกล่าวถึงคือ การจัดกิจกรรมในการเพิ่มพูนความเข้าใจระหว่างประชาชนจีนกับประชาชนในเอเชียใต้ และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดงานแสดงสินค้าและการประชุมหารือทางการค้าการลงทุน รวมทั้ง การประกาศก่อตั้งสหพันธ์มหาวิทยาลัยเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นครคุนหมิง เมื่อวันที่ ๑๐ ธ.ค.๖๑ โดยมีมหาวิทยาลัย ๑๐๓ แห่งจาก ๑๖ ประเทศ ได้แก่ จีน ไทย อินเดีย และสิงคโปร์ ฯลฯ ได้เข้าร่วมในสหพันธ์นี้ (ผู้เขียนได้รับเกียรติให้เป็นที่ปรึกษาของศูนย์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยยูนนานด้วย) ทำให้การขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนาของมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจาก
http://en.kunming.cn/c/2019-06-12/10791906.htm
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconMakhongCanelArea/Yunnan/DocLib_YNArticle/This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
http://thai.cri.cn/20190119/4c4a8107-c636-e1cc-9a5e-6ded3817eb64.html
http://thai.cri.cn/20190613/d5a99d95-5fbe-964d-98ba-1ee01f813ab1.html
http://thai.cri.cn/20181211/28b13f98-3a88-54fc-817e-a998d60afc30.html
http://www.xuethai.com
http://www.ctsynu.com