ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. ภายใต้กรอบข้อริเริ่ม “แถบและเส้นทาง” หรือ BRI ว่าด้วยการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทรอินโดจีน" (A proposal on developing a China-Indochina Peninsular Economic Corridor) ซึ่งเป็น ๑ ใน ๖ ของระเบียงเศรษฐกิจตามข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”
๑.๑ โดยรัฐบาลระดับท้องถิ่นของเขตกวางสีมุ่งพัฒนาให้นครหนานหนิง เมืองชินโจว เมืองฝางเฉิง และเมืองเป๋ยไห่ เป็น "เขตพัฒนาเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้" (Guangxi Beibu Gulf Economic Zone: BGEZ) โดยเฉพาะการประกาศแผนงานเพื่อกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า กับกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยการสร้าง “เขตธุรกิจระหว่างประเทศจีน-อาเซียน” (China-ASEAN International Business District) เช่น การจัดงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน (China-ASEAN Expo: CAEXPO) ณ นครหนานหนิงเป็นประจำทุกปี
๑.๒ การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง “สถานีรถไฟหนานหนิงฝั่งตะวันออก” ตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตเฟิ่งหลิ่ง มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สายนครหนานหนิง-เมืองหลิ่วโจว-เมืองกุ้ยหลิน ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปถึงกรุงปักกิ่ง
๑.๓ การจัดตั้งศูนย์โลจิสติกส์คลังสินค้าทัณฑ์บนแห่งนครหนานหนิง (Nanning Bonded Logistic Center) ตลอดจนการสร้างเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนในเขตอ่าวเป่ยปู้ให้เป็นระบบโครงข่ายเชื่อมโยงกัน ผ่านความร่วมมือเมืองท่าจีน-อาเซียน (China-ASEAN Port Cities Network) เพื่อกระชับความร่วมมือทางทะเลระหว่างจีนกับอาเซียน และในเวลาต่อมา เครือข่ายความร่วมมือดังกล่าวได้รับการกำหนดให้เป็นโครงการสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมือทางทะเลจีน-อาเซียน (China-ASEAN Maritime Cooperation Fund)
๒. แผนระยะ ๕ ปี ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของจีน ตั้งแต่ฉบับที่ ๑๐ – ๑๓ ระหว่างปี ค.ศ.๒๐๐๑ – ๒๐๒๐ มุ่งใช้ศักยภาพของเขตกวางสี ซึ่งอยู่ระหว่างมณฑลยูนนานด่านหน้าในการเปิดความสัมพันธ์กับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างประเทศ
๒.๑ การกำหนดให้นครหนานหนิงซึ่งเป็นเมืองเอกของเขตกวางสี เป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ"ประตูสู่อาเซียน" โดยการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่งทางบกให้เข้าถึงประเทศในกลุ่มอาเซียน ผ่านแนวคิดการสร้าง “ระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-กรุงเทพฯ” (Nanning-Bangkok Economic Corridor) รวมทั้งการจัดตั้ง “ระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-สิงคโปร์” (Nanning-Singapore Economic Corridor)
๒.๒ โครงการก่อสร้างระบบการขนส่งต่อสินค้า (Transshipment Port System) และระบบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสินค้าประเภทน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และแร่เหล็กนำเข้า รวมทั้งถ่านหินตามท่าเรือริมทะเลในเมืองต่างๆ เพื่อเชื่อมแนวพื้นที่เศรษฐกิจเส้นทางสายไหม ระหว่างเส้นทางสายไหมทางบกกับเส้นทางสายไหมทางทะเล ด้วยอาศัยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ในการพัฒนาบทบาทการเป็น "ข้อต่อ" ที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ในกรอบข้อริเริ่ม “แถบและเส้นทาง” หรือ BRI
บทสรุป
การประสานสอดคล้องกันในการดำเนินการตามกรอบแผนงานของข้อริเริ่ม “แถบและเส้นทาง” หรือ BRI ว่าด้วยการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทรอินโดจีน" กับแผนระยะ ๕ ปี ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของจีน ตั้งแต่ฉบับที่ ๑๐ – ๑๓ ระหว่างปี ค.ศ.๒๐๐๑ – ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๔๔ – ๒๕๖๒) ที่มุ่งใช้ศักยภาพของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) ซึ่งอยู่ระหว่างมณฑลยูนนานที่เป็นด่านหน้าในการเปิดความสัมพันธ์กับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) กับมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างประเทศ
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.bbrtv.com/2019/0719/486797.html
http://thai.cri.cn/20190718/ee7ff839-646d-307c-14bd-904d9712c9d5.html
http://thai.cri.cn/20190715/2628e1b7-268f-b989-b2e2-2dee4dafefde.html
http://thaingo.in.th/news/?p=content&act=detail&id_content=4481
http://thai.cri.cn/20190719/d01e3172-a04f-af84-b526-7316507cec38.html
http://thai.cri.cn/20180815/c0cda2d4-ca3c-4f37-9065-bbaf65e106f7.html
http://www.thaiembbeij.org/thaibizchina/th/business-opportunity/detail.php?SECTION_ID=603&ID=17835
http://govt.chinadaily.com.cn/a/201906/17/WS5d06e3f5498e12256565dbb4.html