จีนศึกษา (วันเสาร์ที่ ๒๕ ก.ค.๖๓) ขอนำเสนอข้อมูลวิเคราะห์เกี่ ยวกับความเคลื่อนไหวระหว่างจีน- สิงคโปร์ ผ่านช่องทางใหม่ที่เชื่ อมโยงการค้าระหว่างแผ่นดินใหญ่ กับทะเล และโอกาสของไทย ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เมื่อวันที่ ๒๓ ก.ค.๖๓ บริษัทพัฒนาโลจิสติกส์ช่องทางทิ ศใต้ของจีน-สิงคโปร์ ประกาศผลการดำเนินงานช่วงครึ่ งแรกของปีนี้ว่า ช่องทางการขนส่งใหม่ระหว่างแผ่ นดินใหญ่-ทะเล (“陆海新通道”) ได้ครอบคลุม ๒๓๔ ท่าเรือ ใน ๙๒ ประเทศและภูมิภาค โดยช่องทางใหม่ดังกล่าวเชื่ อมโยงการค้าระหว่างแผ่นดินใหญ่ กับทะเล ภายใต้ความร่วมมื อของมณฑลทางภาคตะวันตกของจีนกั บประเทศสิงคโปร์ ที่มีนครฉงชิ่ง (重庆)เป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน โดยมีเขตปกครองระดับมณฑลและมณฑล อันรวมถึง กวางสี (广西) กุ้ยโจว (贵州) กานซู่ (甘肃) ชิงไห่ (青海) และซินเจียง (新疆) เป็นจุดเชื่อมต่อ ใช้รูปแบบการขนส่งทางราง ทางน้ำ และทางถนน ไปทางทิศใต้ผ่านอ่าวเป่ยปู้ (北部湾)ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งสามารถย่นระยะเวลาการขนส่ งลงได้อย่างมากหากเทียบกั บการเดินเรือจากภาคตะวั นออกของจีน (比经东部地区出海所需时间大幅缩短)
๒. ข้อสังเกต
๒.๑ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่ งชาติ (国家发改委) ของจีน ได้กำหนด "แผนแม่บทสำหรับเส้นทางเดินทะเล - ฝั่งตะวันตก" (西部陆海新通道总体规划) ที่สามารถประสานทรัพยากรด้ านการตลาดในประเทศและต่างประเทศ และประสานการเชื่อมโยงเศรษฐกิ จแถบแม่น้ำแยงซีกั บการประสานงานการก่อสร้ างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเชื่ อมต่ออย่างใกล้ชิดระหว่างพื้นที่ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่เศรษฐกิจแม่น้ำแยงซี โดยคาดว่า แผนแม่บทดังกล่าวจะเป็ นการยกระดับเชิงยุทธศาสตร์ในภู มิภาคที่จะช่วยสร้ างโอกาสการลงทุนเชิงโครงสร้าง ทั้งในระยะกลางและระยะยาว ซึ่งระหว่างปี ๒๐๒๐ – ๒๐๒๕ (พ.ศ.๒๕๖๓ - ๒๕๖๘) การขนส่งตามเส้นทางในภาคตะวั นตกของจีนจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
๒.๒ ข้อมูลทางสถิติระบุว่า ตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการตั้ งแต่เดือนกันยายน ปี ๒๐๑๗ (พ.ศ.๒๕๖๐) จนถึงวันที่ ๓๐ มิ.ย.๖๓ ที่ผ่านมา จำนวนการขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ ระหว่างประเทศดำเนินการไปแล้ว ๑,๙๖๖ เที่ยว โดยเริ่มต้นจากสัปดาห์ละ ๑ เที่ยว เพิ่มความถี่เป็นวันละ ๒ เที่ยวไป-กลับพร้อมกัน ทั้งนี้ สินค้านำเข้าและส่งออกครอบคลุ มรถยนต์และอะไหล่ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เคมี อุตสาหกรรมเบา ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เครื่องดื่ม ตลอดจนอาหารแช่แข็ง เป็นต้น รวมกว่า ๓๕๐ ประเภท
บทสรุป
๒. ข้อสังเกต
๒.๑ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่
๒.๒ ข้อมูลทางสถิติระบุว่า ตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการตั้
บทสรุป
แม้ว่าปัจจุบัน ช่องทางใหม่แผ่นดินใหญ่-ทะเล (“陆海新通道”) ดังกล่าว ได้เชื่อมโยงกับเส้นทางการขนส่ งจีน-ยุโรป อีกทั้งยังประสานเข้ากั บแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม (现丝绸之路经济带) และเส้ นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ ๒๑ (21世纪海上丝绸之路) อย่างกลมกลืนก็ตาม แต่นายหลี่ เฟิง (李丰) หัวหน้าผู้แทนสภาส่งเสริมการค้ าระหว่างประเทศแห่งชาติของจี นประจำประเทศไทย (中国贸促会驻泰国代表处首席代表) กล่าวในงานเจรจาการค้าสินค้ าออนไลน์มณฑลจี๋หลิน-ไทย ปี ๒๐๒๐ เมื่อวันที่ ๒๒ ก.ค.๖๓ ว่า ไทยเป็นหน้าต่างที่ดีที่สุ ดของวิสาหกิจและสินค้าจีนที่ต้ องการเปิดตลาดอาเซียน ทั้งนี้ ในช่วงหลายปีมานี้ เศรษฐกิจการค้าระหว่างมณฑลจี๋ หลิน (吉林 ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉี ยงเหนือของจีน) กับไทยมีการไปมาหาสู่กันอย่ างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคมถึ งพฤษภาคมปีนี้ การส่งออกของมณฑลจี๋หลินต่อไทย มีมูลค่า ๑,๑๘๐ ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๖.๑
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์