การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว การจำหน่ายสินค้าคุณภาพดี และการเผยแพร่อาหารเลิศของไทยในจีน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เมื่อวันที่ ๓๐ เม.ย.๖๒ มีการเปิดงานสัปดาห์สไตล์ไทยครั้งที่ ๓ (ระหว่างวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๕ พ.ค.๖๒) ที่นครฉงชิ่ง โดยสถานกงสุลไทยประจำนครเฉิงตูได้ประสานความร่วมมือกับหอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประจำนครเฉิงตู และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมจัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว การจำหน่ายสินค้าคุณภาพดี การเผยแพร่อาหารเลิศรสของไทย การปรึกษาหารือทางพาณิชย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจะจัดแสดงสินค้าไฮโซ โดยมีวิสาหกิจไทย ๘๒ ราย เพื่อแสดงงานหัตถกรรม อาหาร เครื่องอาภรณ์ ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง ครีมบำรุงผิว เป็นต้น
๒. คู่แข่งที่น่าจับตาของการจัดงานสัปดาห์สไตล์ไทยในจีน ได้แก่การที่มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย แสดงท่าทีความพยายามที่จะเพิ่มปริมาณการส่งออกทุเรียนไปยังจีน มีชื่อพันธุ์ทุเรียนว่า มูซังคิง (Musang King) หรือในชื่อภาษาจีนคือ เมาซานหวัง (猫山王) ซึ่งแปลได้ว่า ราชาแมวป่า ที่ถือเป็นทุเรียนชั้นเลิศของประเทศมาเลเซีย และชาวมาเลเซียคุยว่ารสชาติดีที่สุดในโลก รวมทั้งราคาแพงกว่าทุเรียนชนิดอื่นๆ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะส่งออกทุเรียนเป็นลูก และทุเรียนแช่แข็งไปยังประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่ความนิยมในการบริโภคทุเรียนกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการจัดงานเทศกาลทุเรียนมาเลเซียขึ้นเป็นเวลา ๒ วันในโรงแรมหรูในกรุงปักกิ่ง ในช่วงการประชุมฟอรั่มเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ ๒ ที่กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๗ เม.ย.๖๒ โดยนำผลิตภัณฑ์จากทุเรียนอย่างเช่น ช็อกโกแลตทุเรียน ขนมไหว้พระจันทร์ทุเรียน ฯลฯ ไปจัดแสดง โดยหวังว่าการจัดงานดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคชาวจีนหันมาสนใจทุเรียนจากมาเลซียเพิ่มขึ้น
บทสรุป
ผลสำเร็จของการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว การจำหน่ายสินค้าคุณภาพดี และการเผยแพร่อาหารเลิศของไทยในจีน ซึ่งก่อนหน้านี้ สถานกงสุลไทยประจำนครเฉิงตูกับสำนักงานกิจการต่างประเทศเทศบาลฉงชิ่ง ได้เคยจัดสัปดาห์สไตล์ไทยมาแล้วสองครั้ง เมื่อปี ๒๐๐๙ (พ.ศ.๒๕๕๒) และ ปี ๒๐๑๓ (พ.ศ.๒๕๕๖) โดยช่วงหลายปีมานี้ ประเทศไทยกับนครฉงชิ่งมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ทำให้ในปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑) มีนักท่องเที่ยวจากนครฉงชิ่ง จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ คนเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย แต่ก็ไม่ควรมองข้ามพัฒนาการของทุเรียนจากมาเลเซียที่พยายามเข้าไปตีตลาดทุเรียนในจีน แม้ว่า ในปัจจุบัน ทุเรียนที่ชาวจีนนำเข้าไปบริโภคในประเทศจะมีเพียงร้อยละ ๑ เท่านั้นที่เป็นทุเรียนจากมาเลเซีย ขณะที่ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ ๔๐) ยังเป็นการนำเข้าทุเรียนจากประเทศไทยอยู่ก็ตาม นอกจากนี้ ไทยควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้วยระบบการเพาะปลูกอัจฉริยะอย่างจริงจัง
ประมวลโดย : พลตรีไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
https://www.facebook.com/pg/thaiconsulatechengdu/posts/
http://thai.cri.cn/20190502/216012ba-bdd9-ec2e-4200-c2a4a172bc31.html
https://mgronline.com/china/detail/9620000041812