bg-head-3

บทความ

จีนศึกษา วันเสาร์ที่ ๕ ธ.ค.๖๓ : การส่งเสริมการสร้างมหานครที่ทันสมัย (科学推进现代化都市圈建设) โดย ศาสตราจารย์ ดร.ฟ้าน เหิงซาน (范恒山) รองผู้อำนวยการคณะกรรมการที่ปรึกษา Double Green Think Tank และอดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ในการประชุมประจำปี

ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมการสร้างมหานครที่ทันสมัย (科学推进现代化都市圈建设) โดย ศาสตราจารย์ ดร.ฟ้าน เหิงซาน (范恒山) รองผู้อำนวยการคณะกรรมการที่ปรึกษา Double Green Think Tank และอดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ในการประชุมประจำปี "การเงินและเศรษฐศาสตร์" เมื่อวันที่ ๒๗ พ.ย.๖๓ ณ กรุงปักกิ่ง ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
 
๑. ทำไมต้องสร้างมหานครที่ทันสมัย? ทั้งนี้ จากมุมมองที่สำคัญประการหนึ่งคือ การเอื้อต่อการก่อตัวและรวมตัวกันของปัจจัยต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมและประชากร ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมรวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงของเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างเชิงพื้นที่ของผลผลิตและเร่งการพัฒนาในพื้นที่ที่ด้อยพัฒนา
 
๒. รัฐบาลกลางของจีนได้เน้นย้ำหลายครั้งว่า จำเป็นต้องประสานงานการวางผังเมือง การก่อสร้างและการจัดการกำหนดขนาดเมือง ความหนาแน่นของประชากรและโครงสร้างเชิงพื้นที่อย่างสมเหตุสมผล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ประสานกันของเมืองขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และเมืองขนาดเล็ก โดยความเข้าใจถึงข้อกำหนดของกฎหมาย วัตถุประสงค์และเงื่อนไขในการส่งเสริมการสร้างมหานครที่ทันสมัยใน ๗ ด้าน ได้แก่
     ๒.๑ เพื่อการประสานทิศทางการก่อสร้าง การวางตำแหน่งการดำเนินงานและเป้าหมายการพัฒนาของเขตเมือง โดยพิจารณารากฐานที่แท้จริงและศักยภาพในการพัฒนาของแต่ละเมืองในพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรูปแบบการทำงานระหว่างเมืองและภูมิภาค ส่งเสริมการก่อตัวของคุณลักษณะที่โดดเด่น เสริมสร้างข้อได้เปรียบ รวมทั้งการส่งผ่านและการเชื่อมโยงที่ประสานกัน  และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของการรวมตัวกันในเมือง
     ๒.๒ เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันและการเชื่อมต่อโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานใหม่และเก่า การจัดสรรองค์ประกอบที่เป็นอิสระ รวมทั้งการเชื่อมต่อและการหมุนเวียนการดำเนินงานของตลาดเป็นจุดเริ่มต้นหลัก ตลอดจนการสนับสนุนขั้นพื้นฐานในการส่งเสริมความร่วมมือแบบเปิดรอบด้านระหว่างเมืองและภูมิภาคเป็นวัฏจักร และตระหนักถึงการประสานงานการพัฒนาอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยา การคุ้มครองการกำกับดูแลร่วมและบริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน  
     ๒.๓ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานหลักของใจกลางเมืองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการเสริมสร้างการรวมตัวของเขตเมืองแล้ว จำเป็นต้องอาศัยพื้นที่โดยรอบเพื่อลดการทำงานของเมืองในส่วนกลาง ซึ่งในความเป็นจริง มหานครหลายแห่งเช่น กรุงปักกิ่งและมหานครเซี่ยงไฮ้ กำลังผ่อนปรนการทำงานด้านการพัฒนาทั่วไปไปยังพื้นที่โดยรอบ ในขณะที่เน้นการทำงานหลักของการเป็นใจกลางเมือง โดยกระตุ้นและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ
     ๒.๔ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองที่เข้มแข็งมากกว่าการขยายขนาด
     ๒.๕ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ประสานกันและบูรณาการของเมืองและชนบทโดยอาศัยนวัตกรรม
     ๒.๖ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองแบบบูรณาการ โดยการสำรวจการก่อตัวของระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพและกลไกจูงใจ มีการจัดตั้งกลไกการจัดการในการวางแผนพื้นที่มหานคร กลไกการเจรจา และการประสานงานข้ามภูมิภาค รวมทั้งกลไกการแบ่งปันต้นทุนและการแบ่งปันผลประโยชน์ นอกจากนี้ ยังต้องสำรวจการจัดตั้งกองทุนการลงทุนแบบบูรณาการ และการสร้างกฎหมายสำหรับการดำเนินงาน  
     ๒.๗ เพื่อส่งเสริมการก่อสร้างพื้นที่มหานครให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงและกลไกความร่วมมือ รวมทั้งการประสานงานที่เป็นประโยชน์และมีประสิทธิผล โดยมีการนำรูปแบบองค์กรทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมต่างๆ มาใช้ เช่น การเลือกใช้เศรษฐกิจนอกพื้นที่ เศรษฐกิจแบบเช่าซื้อ และ เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน ฯลฯ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ประสานงานกันระหว่างพื้นที่มหานคร ด้วยการเน้นข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหลักของเขตเมืองแต่ละแห่งที่จะแข็งแกร่งขึ้น
 
บทสรุป

แนวคิดดังกล่าวในข้างต้น เป็นความคิดเห็นบางส่วนของศาสตราจารย์ ดร.ฟ้าน เหิงซาน เกี่ยวกับการสร้างมหานครอันทันสมัยของจีน ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากนักเศรษฐศาสตร์จีนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ
 
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้อมูลจากเว็บไซต์

https://mp.weixin.qq.com/s/x1r8QGksct59qO0yq7vOoA