ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์บรรเทาความยากจนและการช่วยเหลือผู้ยากจนของจีน โดยการบูรณาการให้เป็นหนึ่งเดียว(于一体) ในรูปแบบ "ศูนย์การประชุม (会议中心) + ศูนย์ถ่ายทอดสด (直播中心) + ศูนย์จัดหาและกระจายสินค้าจากส่วนกลาง (集采配送中心) + โลจิสติกส์และคลังสินค้าอัจฉริยะ (智慧物流仓储)" กับข้อคิดต่อการเจาะลึก "มหัศจรรย์จีน" ในการบรรเทาความยากจน (深入探究扶贫减贫的“中国奇迹”) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เมื่อวันที่ ๓๑ ต.ค.๖๓ ศูนย์บรรเทาความยากจนภาคตะวันตกของจีน ได้เปิดตัวศูนย์ช่วยเหลือผู้ยากจนที่มหานคฉงชิ่ง (中国西部消费扶贫中心 重庆市消费扶贫馆 揭牌开馆) เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีนี้ มหานครฉงชิ่งได้ดำเนินการรณรงค์พิเศษเพื่อบรรเทาความยากจนผ่านการบริโภคอย่างจริงจัง จนมียอดขายผลิตภัณฑ์บรรเทาความยากจนเกือบ ๔.๓ พันล้าน หยวน (近43亿元) ซึ่งศูนย์ฯ ดังกล่าวตั้งอยู่ที่ท่าเรือหวีเหยินวาน (渔人湾) เขตเจียงเป่ย (江北区) มหานครฉงชิ่ง (重庆市) มีพื้นที่ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ตารางเมตร ได้รับการออกแบบ ตกแต่ง และบริหารในมาตรฐานเดียวกัน โดยมีการตั้งศูนย์ระดับมณฑลจำนวน ๑๑ แห่ง ศูนย์ระดับอำเภอจำนวน ๓๓ แห่ง ที่มหานครฉงชิ่ง เพื่อช่วยเหลือผู้ยากจนโดยเน้นการบริโภค ด้วยการจัด "สัปดาห์กิจกรรมการบรรเทาความยากจนของผู้บริโภค" (“消费扶贫活动周”) "สัปดาห์ส่งเสริมการบรรเทาความยากจนเพื่อการท่องเที่ยวในชนบท" (“乡村旅游扶贫推广周”) และ "การบรรเทาความยากจนของผู้บริโภคแบบร่วมมือตะวันออก – ตะวันตก” (“东西协作消费扶贫活动”) เป็นต้น
๒. ข้อคิดต่อการเจาะลึก "มหัศจรรย์จีน" ในการบรรเทาความยากจน โดยวิเคราะห์จากลำดับขั้นตอนและปัจจัยแห่งความสำเร็จของจีน ที่ได้สร้างปาฏิหาริย์ในประวัติศาสตร์การลดความยากจน โดยจีนได้กลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีจำนวนคนในการลดความยากจนมากที่สุดในโลก และเป็นประเทศแรกที่บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ กล่าวคือ
๒.๑ ในช่วงสิ้นปี ๑๙๗๘ (พ.ศ.๒๕๒๑) ประชากรในชนบทที่อยู่ใต้เส้นความยากจนมีสัดส่วนสูงถึง ๙๗.๕% หรือคิดเป็นจำนวน ๗๗๐ ล้านคน แต่หลังจากจีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศตั้งแต่ปี ๑๙๗๘ เป็นต้นมา จีนประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยิ่งใหญ่ โดยดำเนินนโยบายขจัดความยากจนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลให้รายได้ของคนในชนบทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและจำนวนประชากรที่ยากจนลดลงอย่างรวดเร็ว จากสถิติพบว่าในช่วง ๔๐ ปีที่ผ่านมา จำนวนประชากรจีนที่อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลงมากกว่า ๘๐๐ ล้านคน หรือกว่า ๗๐% ของคนยากจนทั้งโลก
๒.๒ ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ ๑๘ เมื่อปลายปี ๒๐๑๒ (พ.ศ.๒๕๕๕) การขจัดความยากจนเป็นประเด็นที่ทางการจีนให้ความสำคัญในลำดับต้น ๆ โดยจีนได้กำหนดให้การขจัดความยากจนเป็นวาระแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะห้าปี ฉบับที่ ๑๓ (ระหว่างปี ๒๐๑๖-๒๐๒๐ หรือ พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๓) จีนได้ขับเคลื่อนมาตรการขจัดความยากจนอย่างละเอียดแม่นยำ ตรงจุดและกลุ่มเป้าหมาย โดยในระหว่างปี ๒๐๑๓-๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๖๒) จีนได้ขจัดความยากจนได้เกินกว่าสิบล้านคนต่อปีและต่อเนื่องกันเป็นเวลา ๗ ปี จนทำให้จำนวนคนยากจนทั่วประเทศจีน ลดลงมากกว่า ๙๐ ล้านคน โดยอัตราความยากจนลดลงอย่างต่อเนื่องจาก ๑๐.๒% เหลือเพียง ๐.๖ % และจากสถิติในช่วงปลายปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) มีคนยากจนที่อาศัยอยู่ในชนบทของจีนเหลืออยู่เพียง ๕.๕๑ ล้านคน
๒.๓ ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ ๑๙ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๐๑๗ (พ.ศ.๒๕๖๐)ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้กล่าวเน้นย้ำว่า ต้องทำให้ประชาชนที่อยู่ใต้เส้นความยากจนทุกคนหลุดพ้นจากความยากจนและขจัดความยากจนในทุกเขตและทุกภูมิภาคภายในปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) และปีนี้เป็นเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาห้าปี ฉบับที่ ๑๓ (“十三五”) ซึ่งรัฐบาลจีนตั้งเป้าขจัดความยากจนในประเทศให้หมดสิ้นและก้าวสู่สังคมพอกินพอใช้อย่างถ้วนทั่ว ทั้งนี้ หากสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวนี้ได้ตามกำหนด จีนจะกลายเป็นประเทศที่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ปี ๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓) ในด้านการขจัดความยากจนให้หมดไปจากโลก โดยจีนสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่ากำหนดถึง ๑๐ ปี นอกจากนี้ จีนกำลังจะก้าวสู่ช่วง "แผนห้าปีฉบับที่ ๑๔" และเข้าสู่ขั้นตอนใหม่ของการพัฒนา โดยมาตรการบรรเทาความยากจนของจีนจะค่อยๆ ปรับไปสู่มาตรการช่วยเหลือรายวันสำหรับความยากจนสัมพัทธ์ที่ได้ผนวกเข้ากับกรอบยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบทที่กำลังดำเนินอยู่ ภายใต้การวางแผนโดยรวมในการเร่งสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่โดยมีวัฏจักรภายในประเทศเป็นตัวการหลัก และการส่งเสริมร่วมกันของวัฏจักรคู่ทั้งภายในและต่างประเทศ
๒.๔ การขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ดังกล่าว รัฐบาลในทุกระดับ ตั้งแต่ส่วนกลางจนถึงระดับท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการบรรเทาความยากจนในฐานะภารกิจสำคัญและเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในการสร้างสังคมที่มีความสุขและน่าอยู่ในทุกด้าน ด้วยการสร้างระบบการจัดการที่รวมถึงการวางแผนส่วนกลางที่ครอบคลุมถึง การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การย้ายที่ตั้ง การส่งออกแรงงาน การศึกษาเทคโนโลยี สุขภาพทางการเงิน ฯลฯ มีการจัดตั้งระบบการลงทุนซึ่งรวมถึงกองทุนการคลังกองทุนการเงินและกองทุนเพื่อสังคม การบรรเทาความยากจนพิเศษ การบรรเทาความยากจนแบบคู่กัน การบรรเทาความยากจนในอุตสาหกรรม การบรรเทาความยากจนขององค์กร และการบรรเทาความยากจนในสังคม ภายใต้การกำกับดูแลทางวินัย การเงิน การตรวจสอบและการกำกับดูแลโดยสื่อสังคม ตลอดจนการจัดตั้งระบบการประเมิน เพื่อการปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด เป็นต้น
บทสรุป
ข้อคิดที่สำคัญประการหนึ่งแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์บรรเทาความยากจนและการช่วยเหลือผู้ยากจนของจีน รวมทั้งการเจาะลึก "มหัศจรรย์จีน" ในการบรรเทาความยากจน คือ การเผชิญกับภารกิจร่วมกันในการขจัดความยากจนและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่างๆ ในโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยประชาคมระหว่างประเทศควรสนับสนุนแนวคิดของชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ (国际社会更应秉持人类命运共同体的理念) เพื่อการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการลดความยากจน
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์