ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เมื่อวันที่ ๖ พ.ย.๖๒ มีการสัมมนาเรื่อง “การพัฒนาของจีนและประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน” ในฟอรั่มเศรษฐกิจนานาชาติหงเฉียวครั้งที่ ๒ ที่นครเซี่ยงไฮ้ โดยผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการทั้งจีนและต่างชาติ แบ่งกลุ่มอภิปราย ๗ ประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่
(๑) “การแสวงหาช่องทางสู่ความทันสมัยที่หลากหลาย”
(๒) “จีนกับกระบวนการในโลกยุคใหม่”
(๓) “การเติบโตของเศรษฐกิจกับการพัฒนาอย่างกลมกลืน”
(๔) “ความร่วมมือที่เปิดกว้าง การเจรจาทางอารยธรรม”
(๕) “การร่วมหารือ ร่วมสร้างสรรค์ ร่วมแบ่งปันกับการบริหารทั่วโลก”
(๖) “การเปรียบเทียบการช่วยเหลือผู้ยากจนและขจัดความยากจนของจีนกับต่างประเทศ”
(๗) “อารยธรรมทางนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
๒. นายฌิสการ์ แด็สแต็ง (Giscard d'Estaing) อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้กล่าวชื่นชมผลสำเร็จในการพัฒนาของจีนว่า ปีนี้เป็นปีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนครบ ๗๐ ปี โดยตลอด ๗๐ ปีที่ผ่านมาจีนประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ต่อชาวโลก ผลสำเร็จชิ้นนี้ได้มาไม่ง่าย เป็นความมานะบากบั่นของประชาชนจีน เป็นการได้มาด้วยการต่อสู้อย่างยากลำบาก ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนประชาชนจีนที่ได้สำรวจเส้นทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพของประเทศตน ทำให้จีนประสบกับการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันการเมืองจีนมีเสถียรภาพ สังคมเจริญรุ่งเรือง เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ผลสำเร็จทั้งหมดนี้เกี่ยวเนื่องกับภูมิปัญญาของชาวจีนอย่างแนบแน่น ผู้คนต่างมีส่วนร่วมในการสร้างเศรษฐกิจและมุ่งมั่นทำอย่างเต็มที่ ประเทศจีนกระตุ้นพลังสร้างสรรค์ของตนเอง และนี่ก็คือเหตุผลของความเจริญรุ่งเรืองในการพัฒนาเศรษฐกิจจีน
๓. มีข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจจีน จากรายงานของบริษัทบริการการเงินระหว่างประเทศ Morgan Stanley ที่ได้ออกรายงานสมุดปกฟ้า “รูปแบบเมืองของจีน ๒.๐: กลุ่มมหานคร” ที่คาดว่าเมื่อถึงปี ๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓) อัตราเติบโตแบบเมืองของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น ๗๕% “คนเมืองใหม่” จะเพิ่มขึ้น ๒๒๐ ล้าน โดยรายงานได้ระบุว่า สถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นส่วนใหญ่เกิดจาก ๓ ปัจจัยหลัก คือ
(๑) การพัฒนาขึ้นของกลุ่มเมืองในจีนจะพัฒนาจุดเด่นของการรวมตัวกันขณะเดียวกันก็ช่วยบรรเทาปัญหาของเมืองใหญ่
(๒) การได้รับประโยชน์จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคใหม่ ทำให้เมืองอัจฉริยะของจีนลดปัญหาการจราจรแออัด ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและมลพิษ
(๓) ขนาดและความทันสมัยของการเกษตรจีนจะช่วยเพิ่มอัตราผลผลิตของแรงงาน ส่งเสริมให้ประชากรในชนบทย้ายถิ่นฐานเข้าเมือง
๔. ในรายงานของบริษัทบริการการเงินระหว่างประเทศ Morgan Stanley ยังได้ระบุว่า รูปแบบเมือง ๒.๐ จะกระตุ้นกำลังการผลิตของจีน และจะช่วยให้จีนก้าวสู่ประเทศรายได้สูง ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลในรายงานสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) ของธนาคารโลกที่ระบุว่า ประเทศจีนจะถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน ๒๐ ประเทศที่มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในระดับโลกในหนึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งหากเปรียบเทียบกับรายงานสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปี ๒๐๑๙ พบว่า อันดับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของจีนในระดับโลก ได้ขยับจากอันดับที่ ๗๘ ขึ้นเป็นอันดับที่ ๔๖ ซึ่งกระโดดข้ามถึง ๓๒ อันดับ และเป็นอันดับที่ ๓ ในการจัดอันดับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
บทสรุป
ผลจากการพัฒนาของจีน โดยมีคำยืนยันจาก Paul White ผู้เชี่ยวชาญชาวอังกฤษของสำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ที่ได้เดินทางมาอยู่ที่ปักกิ่งตั้งแต่ปี ๑๙๘๔ (พ.ศ.๒๕๒๗) และได้เห็นว่า ๓๕ ปีที่ผ่านมา จีนเติบโตขึ้นจากประเทศที่ยากจนล้าหลัง แต่ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจโลกอันดับสอง ทั้งนี้ เกิดจากการที่คนจีนคิดจะทำอะไรแล้ว จะไม่ลังเล ต้องทำจนสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในเวลาที่สั้นที่สุด นอกจากนี้ Frank Sieren นักข่าวเยอรมันประจำประเทศจีน ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันจีนไม่ใช่ประเทศที่ลอกเลียนแบบเทคโนโลยีจากประเทศอื่น ๆ อีกต่อไป แต่จีนเองมีความสามารถในนวัตกรรมใหม่ที่มั่งคั่ง จึงได้ทำให้จีนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://cu.edu.ge/en/news-page/cu-hongqiao-international-economic-forum
http://thai.cri.cn/20191107/ea62cc3e-a202-768f-5383-bd77695350ed.html
http://thai.cri.cn/20191013/5a1b4139-c4d6-7059-98be-6740102bb5db.html
http://thai.cri.cn/20191014/5334ec1d-11e3-a271-e6dd-6720f2892ef6.html
http://thai.cri.cn/20191015/ff18b3fc-83fa-dab3-e75b-a1c6caff7c89.html
http://thai.cri.cn/20191024/9ac78855-39f7-be47-7338-60b7160fcb44.html
http://thai.cri.cn/20191011/8c97dc91-2480-9a65-d27d-bb1540ee3cac.html