bg-head-3

บทความ

จีนศึกษาฉบับพิเศษ (วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ม.ค.๖๕) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรฐานระดับชาติด้านบริการดูแลผู้สูงอายุของหน่วยงานดูแลผู้สูงอายุในจีน ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

จีนศึกษาฉบับพิเศษ (วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ม.ค.๖๕) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรฐานระดับชาติด้านบริการดูแลผู้สูงอายุของหน่วยงานดูแลผู้สูงอายุในจีน ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. มาตรฐานดังกล่าวได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของหน่วยงานบริการผู้สูงอายุที่ปลอดภัย โดยตามสถิติระบุว่า ขณะนี้ จีนมีประชากรสูงอายุเกิน ๖๐ ปี อยู่ราว ๒๕๐ ล้านคน และกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว

๒. จีนได้พัฒนาการประกันดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งพยายามรวบรวมกองทุนเบี้ยประกันให้ได้ ๖๐,๐๐๐ ล้านหยวน ภายในปี ๒๐๒๕ (พ.ศ.๒๕๖๘) ด้วยการแสวงหาความต้องการของผู้สูงอายุ และออกแผนการประกันที่มีราคาไม่แพง ตลอดจนรับผิดชอบและให้บริการที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อสนองต่อความต้องการของประชากรจีนที่มีอายุเกิน ๖๐ ปี จำนวน ๒๕๐ ล้านคน ซึ่งคิดเป็น ๑๗.๙% ของประชากรทั้งหมด

๓. ข้อสังเกต ปัจจุบัน บริบทของการบริการดูแลผู้สูงอายุของจีนในรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน กลายเป็นที่พึ่งพาของชุมชนและช่วยสนับสนุนต่อหน่วยงานต่างๆ ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุแบบอัจฉริยะจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างระบบบริการด้านการดูแลผู้สูงอายุแบบอิงข้อมูล จากการตรวจสอบผ่านระบบทางไกลตำแหน่งที่อยู่ตามเวลาปัจจุบันและมีระบบการโต้ตอบข้อมูลบนแพลตฟอร์มอันเดียวกัน เป็นต้น

บทสรุป การตอบสนองความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุที่ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยีร่วมกับงานด้านมนุษยธรรมในผู้สูงอายุ ด้วยการสร้างจิตสำนึกในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ จะเป็นการกระตุ้นให้ระบบบริหารและการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.ecns.cn/news/society/2020-01-14/detail-ifzsqcrm6565055.shtml )