bg-head-3

ข่าวสาร

“ซูจี” ยืนกรานเรียกประเทศด้วยชื่อเก่า "Burma"

เอเอฟพี - นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ยืนกรานปฏิเสธทำตามคำสั่งของรัฐบาลพม่า ที่ให้นางหยุดเรียกประเทศด้วยคำว่า “Burma” ซึ่งเป็นชื่อที่นักรณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตยใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อต่อต้านอดีตรัฐบาลเผด็จการทหาร
อดีตรัฐบาลเผด็จการทหารได้เปลี่ยนชื่อประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อ 2 ทศวรรษก่อน จาก Burma มาเป็น Myanmar โดยระบุว่า ชื่อ Burma นั้น เป็นสิ่งตกทอดจากช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองพม่าในยุคล่าอาณานิคม และเป็นชื่อที่ใช้เพื่ออ้างอิงถึงดินแดนของชนหลายเชื้อชาติ แต่เป็นของชาวเบอร์มาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่
คณะกรรมการการเลือกตั้งพม่า ได้วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อการกระทำของนางซูจีเมื่อสัปดาห์ก่อน ถึงการใช้ชื่อประเทศแบบเก่าในระหว่างเดินทางเยือนต่างประเทศ โดยกล่าวหาว่า นางซูจี และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ดูหมิ่นรัฐธรรมนูญ
แต่นางซูจีกล่าวกับผู้สื่อข่าวในนครย่างกุ้งว่า นางจะยังคงเรียกประเทศในแบบที่ต้องการ โดยให้เหตุผลว่า ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนควรมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในการพูดอย่างเสรีโดยไม่ดูถูกผู้อื่น ซึ่งเป็นหลักการของระบอบประชาธิปไตย ขณะที่กองทัพเปลี่ยนชื่อประเทศโดยไม่มีการปรึกษาหารือ
ซูจีและพรรค NLD คัดค้านอย่างหนักต่อการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ และระบุว่า การเปลี่ยนแปลงชื่อนั้นเป็นสัญลักษณ์ของบรรดาเหล่านายทหารในการสร้างประเทศใหม่
ผู้นำระดับโลกหลายคนต้องเผชิญกับสถานการณ์ยากลำบาก ในการเรียกชื่อประเทศที่เพิ่งก้าวพ้นจากการปกครองโดยทหารที่ยาวนานหลายทศวรรษ ด้วยการนำของประธานาธิบดีเต็งเส่ง
นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ และประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ เรียกพม่าด้วยคำว่า เบอร์มา แต่นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กลับเลือกใช้คำว่า “ประเทศนี้” เพื่อเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างเดินทางเยือนพม่าเมื่อเดือน ธ.ค.

เอเอฟพี - นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ยืนกรานปฏิเสธทำตามคำสั่งของรัฐบาลพม่า ที่ให้นางหยุดเรียกประเทศด้วยคำว่า “Burma” ซึ่งเป็นชื่อที่นักรณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตยใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อต่อต้านอดีตรัฐบาลเผด็จการทหาร

       

       อดีตรัฐบาลเผด็จการทหารได้เปลี่ยนชื่อประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อ 2 ทศวรรษก่อน จาก Burma มาเป็น Myanmar โดยระบุว่า ชื่อ Burma นั้น เป็นสิ่งตกทอดจากช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองพม่าในยุคล่าอาณานิคม และเป็นชื่อที่ใช้เพื่ออ้างอิงถึงดินแดนของชนหลายเชื้อชาติ แต่เป็นของชาวเบอร์มาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่

       

       คณะกรรมการการเลือกตั้งพม่า ได้วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อการกระทำของนางซูจีเมื่อสัปดาห์ก่อน ถึงการใช้ชื่อประเทศแบบเก่าในระหว่างเดินทางเยือนต่างประเทศ โดยกล่าวหาว่า นางซูจี และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ดูหมิ่นรัฐธรรมนูญ

       

       แต่นางซูจีกล่าวกับผู้สื่อข่าวในนครย่างกุ้งว่า นางจะยังคงเรียกประเทศในแบบที่ต้องการ โดยให้เหตุผลว่า ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนควรมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในการพูดอย่างเสรีโดยไม่ดูถูกผู้อื่น ซึ่งเป็นหลักการของระบอบประชาธิปไตย ขณะที่กองทัพเปลี่ยนชื่อประเทศโดยไม่มีการปรึกษาหารือ

       

       ซูจีและพรรค NLD คัดค้านอย่างหนักต่อการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ และระบุว่า การเปลี่ยนแปลงชื่อนั้นเป็นสัญลักษณ์ของบรรดาเหล่านายทหารในการสร้างประเทศใหม่

       

       ผู้นำระดับโลกหลายคนต้องเผชิญกับสถานการณ์ยากลำบาก ในการเรียกชื่อประเทศที่เพิ่งก้าวพ้นจากการปกครองโดยทหารที่ยาวนานหลายทศวรรษ ด้วยการนำของประธานาธิบดีเต็งเส่ง

       

       นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ และประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ เรียกพม่าด้วยคำว่า เบอร์มา แต่นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กลับเลือกใช้คำว่า “ประเทศนี้” เพื่อเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างเดินทางเยือนพม่าเมื่อเดือน ธ.ค.


ขอบคุณที่มา::www.manager.co.th