ในการกล่าวปราศรัยเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวถึงสภาพการณ์ของสหรัฐฯว่ากำลังตกอยู่ในวิกฤต และจะเยียวยาด้วยลัทธิโดดเดี่ยว ( isolationist ) หรือนโยบายแยกตัวจากชาติอื่นๆ พร้อมๆไปกับลัทธิคุ้มครองการค้า (protectionist) ประมุขใหม่แดนพญาอินทรีประกาศก้องว่า “นับจากวันนี้เป็นต้นไป อเมริกันต้องมาก่อนอันดับแรก”
สองวันต่อมา ในวันที่ 23 ม.ค. ทรัมป์ได้ลงนามในคำสั่งพิเศษถอนตัวออกจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) อย่างเป็นทางการ TPP ซึ่งนายบารัค โอบามา ริเริ่มเมื่อปี 2015 เป็นช่องทางหลักของวอชิงตันในการกลับเข้ามามีบทบาทในเอเชีย หรือปักหมุดเอเชีย (Pivot to Asia) ประกอบด้วยสมาชิก 12 ชาติ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา ชิลี เม็กซิโก เปรู ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม ซึ่งครองสัดส่วนราว 40% ของจีดีพีโลก นับเป็นข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก TPP ไม่มีจีนรวมอยู่ด้วย ทำให้หลายฝ่ายมองว่ามันเป็นยุทธศาสตร์สกัดอิทธิพลจีนในอาณาบริเวณ
แต่ขณะนี้พญาอินทรีได้ “ถอยทัพ” กลับบ้าน ปลีกตัวออกห่างจากพันธมิตรเอเชีย ไปเป็นโดดเดี่ยวผู้น่ารักของอเมริกันชน มุ่งปกป้องผลประโยชน์ภายในประเทศ ด้านจีนยังคงมุ่งขยายโลกาภิวัตน์ โดยที่ชาติต่างๆในภูมิภาคเอเชียก็ขานรับจีนในฐานะยักษ์ใหญ่เศรษฐกิจอันดับสองของโลกมากขึ้น
หลังจากที่ทรัมป์ลงนามถอนตัวออกจากTPP วันถัดมา (24 ม.ค.) นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย นาย นาจิบ ราซัค ก็ออกโรงเรียกร้องให้มีการสรุปความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค Regional Comprehensive Economic Partnership ชื่อย่อ RCEP ซึ่งเป็นความตกลงบูรณาการเขตการค้าเสรีในภูมิภาค ระหว่าง 10 ชาติสมาชิกอาเซียน และ 6 ชาติคู่เจรจา (ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)
พญามังกรกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกลุ่มชาติอาเซียน ขณะที่ด้านการลงทุนก็โตวันโตคืน รายงานคาดการณ์ของ เครดิต สวิส กรุ๊ป ระบุเมื่อปีที่แล้วว่า การลงทุนต่างชาติโดยตรง หรือเอฟดีไอจีนในกลุ่มชาติยักษ์ใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6 ชาติ ได้เพิ่มเกือบเท่าตัว
“จีนมีเป้าหมายชัดเจน โดยรู้ว่าตนต้องการอะไรจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ แต่ปัจจุบัน ไม่ใช่ผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลอีกต่อไป ภาคบริษัทเอกชนกำลังมาแรง และมีบทบาทมากขึ้น” Santitarn Sathirathai นักเศรษฐศาสตร์ประจำเครดิต สวิส ในสิงคโปร์ กล่าว
ฟิลิปปินส์และมาเลเซียต่างเคลื่อนไหวเข้าหาจีนอย่างชัดเจน ประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ นาย โรดรีโก ดูแตร์เต เยือนกรุงปักกิ่งครั้งแรกเมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา และได้กล่าวว่า เขาต้องการถอยห่างจากการกระชับสัมพันธ์กับอเมริกา ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการทหารรายหลัก และหันมามุ่งการปรับสมดุลใหม่โดยให้ความสำคัญกับจีน หรือยุทธศาสตร์ปักหมุดจีน (pivot to China)
ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย นาย นาจิบ ราซัค เยือนจีนในเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ก็มีการลงนามข้อตกลงการลงทุนระหว่างสองชาติ มูลค่ารวมราว 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งสัญญาการลงทุนในภาคพลังงานไปยันโครงสร้างพื้นฐาน อย่างเช่น รถไฟ
นายกฯแดนเสือเหลืองโปรยยาหอมอีกว่ามาเลเซียมีความสัมพันธ์พิเศษกับจีนจากพื้นฐานวัฒนธรรมร่วมและการเคารพซึ่งกันและกัน ขณะนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติก็กำลังทะยานสูงสู่ระดับใหม่
แม้สหรัฐฯเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ แต่ขณะนี้จีนกำลังชิงแท่นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในแดนตากาล็อกในปีนี้ (2560) ด้วยมูลค่าการลงทุน 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และกระแสเงินไหลเข้า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากตัวเลขประมาณการณ์ของ เอชเอสบีซี โฮลดิ้ง (HSBC Holding)
จีนได้เผยแผนขั้นตอนต่างๆในการขยายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เหนียวแน่นกับฟิลิปปินส์ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการส่งเสริมการนำเข้าสินค้าเกษตร สนับสนุนบรรดาบริษัทจีนเข้าไปลงทุน ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนยกเลิกข้อจำกัดการลงทุนจากต่างประเทศ
เครดิต สวิส ประมาณ เอฟดีไอจีนใน 6 ชาติสมาชิกอาเซียน จะสูงประมาณ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 โดยเอฟดีไอทั้งหมดที่เข้ายังประเทศไทยนั้น 30 เปอร์เซ็นต์เป็นเอฟดีไอจากจีน ขณะที่มาเลเซียมีเอฟดีไอจีน 20 เปอร์เซ็นต์
ด้านยักษ์ใหญ่อินโดนีเซีย ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน การลงทุนจากจีนขยับสูงขึ้นๆ หลังการพบปะ 5 ครั้งระหว่างประธานาธิบดี สี จิ้นผิงและประธานาธิบดี โจโค วิโดโด ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยขณะนี้ จีนเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับสาม ตามหลังสิงคโปร์ และญี่ปุ่น โดยเอฟดีไอ พุ่งทะยานขึ้น 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 9 เดือนจนถึงเดือนก.ย.ที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับเอฟดีไอทั้งปีของปีก่อนหน้า (2558) ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
มิเพียงจีนรายเดียวเท่านั้นที่รุกเข้ามากระชับสัมพันธ์เศรษฐกิจในอาเซียน ยังมีกลุ่มบริษัทจากไต้หวันและญี่ปุ่นหลั่งไหลเข้าจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการธุรกิจในภูมิภาคนี้ เนื่องจากค่าแรงต่ำและอัตราเติบโตเศรษฐกิจแข็งแกร่ง
เป็นที่คาดการณ์ว่าอัตราเติบโตเศรษฐกิจของกลุ่มยักษ์ใหญ่เศรษฐกิจอาเซียนทั้ง 6 ชาติ นอกเหนือจากสิงคโปร์ จะขยายตัวมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2559
ภาคการท่องเที่ยวเป็นอีกภาคอุตสาหกรรม ที่ได้รับส้มหล่นลูกเบ้อเริ่มเทิ่มจากกระแสความต้องการของนักท่องเที่ยวจีน จากการประมาณการณ์ของนาย เอ็ดวาร์ด ลี นักเศรษฐศาสตร์ประจำสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ในสิงคโปร์ ระบุว่า ปัจจุบัน 1 ใน 4 ของกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่มาเที่ยวประเทศไทย มาจากประเทศจีน เทียบเปรียบกับช่วงปี 2551 ที่มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่มาเที่ยวสยามเมืองยิ้ม
ส่วนชาติอื่นๆในอาเซียน ก็ได้รับอานิสงส์จากความต้องการท่องเที่ยวของชาวจีน จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปยังถิ่นเอเชียเพิ่มขึ้นหนาตามากตั้งแต่ปี 2543
“อาเซียนเหมือนกับได้ส้มหล่นลูกเบ้อเร่อจากการท่องเที่ยวจีน ทุกประเทศได้นักท่องเที่ยวจีนมาช่วยอุดหนุนสินค้าและบริการ กระตุ้นการค่าใช้จ่าย” ลีกล่าว
ไทยเป็นหนึ่งในชาติอาเซียน ที่จัดบริการให้นักท่องเที่ยวจีนสามารถขอวีซ่าที่ประเทศปลายทาง (visas on arrival) ด้านมาเลย์ยกเว้นวีซ่าสำหรับผู้เดินทางมายังแดนเสือเหลืองในช่วงเวลาไม่เกิน 15 วัน ส่วนอินโดนีเซียยกเว้นวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจีนเมื่อปีที่แล้ว
เครดิต สวิส ประมาณว่านักท่องเที่ยวจีนจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในไทย เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซนต์ ซึ่งจะช่วยดันอัตราเติบโตเศรษฐกิจ ประมาณ 1.6 จุด และช่วยกระตุ้นจีดีพีเวียดนาม เกือบ 1 จุด
ขณะเดียวกัน จีนกับประเทศในอาเซียนระหองระแหงกันในศึกชิงเกาะในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าที่คึกคักที่สุดในโลก อาทิ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม อ้างสิทธิเหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเขตทับซ้อนกับจีน และต่างก็ขยายกองกำลังประจำการของตนในดินแดนพิพาทนั้น
จีนและอินโดนีเซียก็เผชิญหน้ากันร้อนฉ่าในศึกวิวาทะแย่งกรรมสิทธิดินแดนในทะเลจีนใต้
“แต่ทุกฝ่ายก็ต้องทำใจ ไม่เล่นกันแรงถึงขั้นแตกหัก” แฮรี่ ซา (Harry Sa) นักวิเคราะห์ ประจำ สถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ เอส ราชารัตนัม (Rajaratnam School of International Studies) ในสิงคโปร์ กล่าว
“ในด้านเศรษฐกิจ ตอนนี้ มิมีใครอาจปฏิเสธจีนได้ ต่างเปิดประตูต้อนรับจีน แม้ยังคงเผชิญหน้ากันในศึกชิงเกาะในทะเลจีนใต้อยู่ก็ตาม”
ขอบคุณที่มา : Manager Online
However many individuals become disconcerted when trying to order medicaments from the Web because they don't know what is approachable. To order medicines online from a preferred source is safe. Let's talk about how you can make sure that medications you get through a mail-order drugstore are sure. Verapamil is a calcium channel blocker. This drug works by relaxing the muscles of your soul. Other medicaments are used to treat inflammation caused by eczema. What about cost of cialis per pill and sexual disorders? What soundness care providers talk about cheap cialis pills? A spread form of sexual disfunction among men is the erectile disfunction. Young men with sexual health problems need professional help. Some treatments will include couples therapy. Why it happen? Can sexual dysfunctions in men be treated? One way to improve erectile malfunction is to make certain elementary lifestyle changes, another is medication. You can prevent the incidence of sexual troubles by having a healthy lifestyle. Any drug may cause unwanted side effects. For some patients side effects can be actually serious. Get emergency help if you have any kind of an allergic reaction to this medicine. Talk to your pharmacist to see if it’s sure to make the switch.